ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี
พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ
จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที
(AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย
(โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต
Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย
ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น
dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า
โดเมน (Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
โดยย่อมาจากคำว่า Thailand
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน
กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว
9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท
ยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
(AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย
“ไทยเน็ต” (THAInet)
ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “
(Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
(ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค
(NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)
ปี พ.ศ. 2535 เช่นกัน เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า
"เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC E-mail Working
Group) โดยการดูแลของเนคเทค และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า "ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai
Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน
โดยเริ่มแรกประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ
กว่า 30 แห่ง ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ
ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น
มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป
อินเตอร์เน็ตทำงานอย่างไร?
รู้จักกับ TCP/IP
โปรโตคอล TCP/IP หรือ Transmission
Control Protocol/Internet Protocol เป็นระเบียบวิธีการ
สื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กันมาแต่เดิมในระบบปฏิบัติการ Unix ซึ่งมีการใช้งานอย่าง กว้างขวางมาก จนถือเป็นมาตรฐานได้
จุดกำเนิดของโปรโตคอล TCP/IP นี้เริ่มขึ้นในราว พ.ศ. 2512
ที่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐ เมื่อพบปัญหาในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานต่างๆ
ของตน ซึ่งจะต้องมีการส่งข้อมูลระหว่างกัน และไปยังหน่วยงานภายนอกอื่นๆ เช่น
มหาวิทยาลัย ห้องทดลองต่างๆ (ส่วนใหญ่มีเครื่องที่ใช้ระบบ Unix อยู่เป็นจำนวนมาก) เนื่องจากแต่ละแห่งก็จะมีระบบคอมพิวเตอร์ของตนเองที่แตกต่างกันไป
การต่อเชื่อมกันก็เป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำไม เหมือนกัน ดังนั้นข่าวสารข้อมูลทั้งหลาย
จึงถ่ายเทไปมาได้อย่างยากลำบากมาก กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้ จัดตั้งหน่วยงาน Advanced
Research Projects Agencies (ARPA) ขึ้นมา
เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ผลลัพธ์ที่หน่วยงาน ARPA ได้จัดทำขึ้นคือ การกำหนดมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลและได้จัดตั้งเครือข่าย
ARPANET ขึ้นโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP ต่อมาก็กลายมาเป็นมาตรฐานจริงจัง
ในราวปี พ.ศ. 2525 ความสัมพันธ์ระหว่าง TCP/IP กับระบบปฏิบัติการ Unix เกิดขึ้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
ที่เบอร์คเลย ์ ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Unix ซึ่งมีการผนวกเข้ากับโปรโตคอล
TCP/IP สำหรับใช้ในการสื่อสารระหว่างระบบออกมา และเผยแพร่ต่อไปยังหน่วยงานต่างๆ
ทำให้การสื่อสารกันของเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Unix มักจะต้อง
ใช้โปรโตคอล TCP/IP เสมอ และมีบทบาทเป็นสิ่งที่คู่กันต่อมาถึงปัจจุบัน
ใน ปัจจุบันนี้ ไม่ว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของผู้ใช้จะเป็นแบบใดก็ตาม
เช่น พีซีหรือแมคอินทอช ก็สามารถใช้งานโปรโตคอล TCP/IP เพื่อต่อเชื่อมเข้าส
ู่อินเตอร์เน็ตได้ วิธีการก็คือเพียงแต่ติดตั้งใช้งานซอฟต์แวร์โปรโตคอล TCP/IP
เท่านั้น ส่วนวิธีการและโปรแกรมที่ติดตั้ง
จะแตกต่างกันขึ้นกับระบบที่ใช้ ซึ่งจะกล่าวต่อไป หมายเลข IP (IP Address) การสื่อสารกันในระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ตที่มีโปรโตคอล TCP/IP เป็นมาตรฐานนี้ เครื่องอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่ จะต้องมีหมายเลขประจำตัวเอาไว้อ้างอิงให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ
ได้ทราบเหมือนกับคนทุกคนต้องมีชื่อให้คนอื่นเรียก หมายเลขอ้างอิงดังกล่าวเราเรียกว่า
IP Address หรือหมายเลข IP หรือบางทีก็เรียกว่า
"แอดเดรส IP" (IP ในที่นี้ก็คือ Internet
Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง) ซึ่งถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด
32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น
4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน
เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบ ก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด
ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ตั้งแต่ 0 จนถึง 28
-1 = 255 เท่านั้น เช่น 192.10.1.101 เป็นต้น
ตัวเลข IP Address ชุดนี้จะเป็นสิ่งที่สำคัญคล้ายเบอร์โทรศัพท์ที่เรามีใช้อยู่และไม่ซ้ำกัน
เพราะสามารถกำหนดเป็นตัวเลขได้รวมทั้งสิ้นกว่า 4 พันล้านเลขหมาย
แต่การกำหนดให้คอมพิวเตอร์มีเลขหมาย IP Address นี้ไม่ได้เริ่มต้นจากหมายเลข
1 และนับขึ้นไปเรื่อยๆ หากแต่จะมีการจัด แบ่งออกเป็น 2
ส่วน คือ
o ส่วนแรกเป็นหมายเลขของเครือข่าย (Network Number)
o ส่วน ที่สองเรียกว่าหมายเลขของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายนั้น
(Host Number) เพราะในเครือข่ายใดๆ อาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออยู่ได้มากมาย ในเครือข่ายที่อยู่คนละระบบอาจมีหมายเลข
Host ซ้ำกันก็ได้ แต่เมื่อรวมกับหมายเลข Network แล้ว จะได้เป็น IP Address ที่ไม่ซ้ำกันเลย
ในการจัดตั้งหรือกำหนดหมายเลข
IP Address นี้ก็มีวิธีการกำหนดที่ชัดเจน และมีกฎเกณฑ์ที่รัดกุม ผู้ใช้ที่อยากจัดตั้งโฮสต์คอมพิวเตอร์
เพื่อเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ต และให้บริการต่างๆ สามารถขอหมายเลข IP
Address ได้ที่หน่วยงาน Internet Network Information Center
(InterNIC) ขององค์กร Network Solution Incorporated (NSI) ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา แต่ถ้าผู้ใช้สมัครเข้าเป็นสมาชิกขอ ใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากบริษัทผู้ให้บริการ
(Internet Service Provider) เรียกย่อๆ ว่าหน่วยงาน ISPรายใดก็แล้วแต่ ก็ไม่ต้องติดต่อขอ IP Address เนื่องจากหน่วยงาน
ISP เหล่านั้นจะกำหนดหมายเลข IP ให้ใช้
หรือส่งค่า IP ชั่วคราวให้ใช้งาน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบการขอใช้บริการที่จะกล่าวต่อไป
โครงสร้างของแอดเดรสที่ใช้ใน
classต่างๆของเครือข่าย ซึ่งทั้งหมด ยาว 32 บิต IP
Address นี้มีการจัดแบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 ระดับ
(Class) แต่ที่ใช้งานในทั่วไปจะมีเพียง 3 ระดับคือ Class A, Class B, Class C ซึ่งก็แบ่งตามขนาดความใหญ่
ของเครือข่ายนั่นเอง ถ้าเครือข่ายใดมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร เชื่อมต่ออยู่มาก
ก็จะมีหมายเลขอยู่ใน Class A ถ้ามีจำนวนเครื่องต่ออยู่ลดหลั่นกันลงมาก็จะอยู่ใน
Class B และ Class C ตามลำดับ หมายเลข IP
ของ Class A มีตัวแรกเป็น 0 และหมายเลขของเครือข่าย (Network Number) ขนาด 7
บิต และ มีหมายเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์ (Host Number) ขนาด 24 บิต ทำให้ในหนึ่งเครือข่ายของ Class
A สามารถมีคอมพิวเตอร ์เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายได้ถึง 224=
16 ล้านเครื่อง เหมาะสำหรับองค์กร หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ แต่ใน Class
A นี้ จะมีหมายเลข เครือข่ายได้ 128 ตัวเท่านั้นทั่วโลก
ซึ่งหมายความว่าจะมีเครือข่ายยักษ์ใหญ่แบบนี้ได้เพียง 128 เครือข่ายเท่านั้น
สำหรับ Class B จะมีหมายเลขเครือข่ายแบบ 14 บิต และหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 16 บิต
(ส่วนอีก 2 บิตที่เหลือบังคับว่าต้องขึ้นต้นด้วย 102)
ดังนั้นจึงสามารถมีจำนวนเครือข่ายที่อยู่ใน Class B ได้มากกว่า Class A คือมีได้ถึง 214 = กว่า 16,000 เครือข่าย
และก็สามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันในเครือข่าย Class B แต่ละเครือข่ายได้ถึง 216 หรือมากกว่า 65,000
เครื่อง สุดท้ายคือ Class C ซึ่งมีหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ
8 บิตและมีหมายเลขเครือข่ายแบบ 21 บิต
ส่วนสามบิตแรกบังคับว่าต้องเป็น 1102 ดังนั้นใน
แต่ละเครือข่าย Class C จะมีจำนวนเครื่องต่อเชื่อมได้เพียงไม่เกิน
254 เครื่องในแต่ละเครือข่าย (28 = 256 แต่หมายเลข 0 และ 255 จะไม่ถูกใช้งาน
จึงเหลือเพียง 254) ดังนั้นวิธีการสังเกตได้ง่ายๆ
ว่าเราเชื่อมต่ออยู่ที่เครือข่าย Class ใดก็สามารถดูได้จาก IP
Address ในส่วนหน้า (ส่วน Network Address) โดย
Class A จะมี Network address ตั้งแต่ 0 ถึง 127 (บิตแรกเป็น 0 เสมอ)
Class B จะมี Network address ตั้งแต่ 128 ถึง 191 (เพราะขึ้นต้นด้วย 102 เท่านั้น)
Class C จะมี Network address ตั้งแต่ 192 ถึง 223 (เพราะขึ้นต้นด้วย 1102 เท่านั้น)
เช่น
ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ตมีหมายเลข IP ดังนี้ 181.11.82.22 ตัวเลข 181.11 แสดงว่าเป็นเครือข่ายใน Class
B ซึ่งหมายเลขเครือข่ายเต็มๆ จะใช้ 2 ส่วนแรกคือ
181.11 และมีหมายเลขคอมพิวเตอร์คือ 82.22 หรือถ้ามี IP Address เป็น 192.131.10.101 ทำให้ทราบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเชื่อมต่ออยู่ใน Class C มีหมายเลขเครือข่ายคือ 3 ส่วนแรก ได้แก่ 192.131.10
และหมายเลขประจำ เครื่องคือ 101 เป็นต้น
·
Domain
Name System (DNS)
เราทราบแล้วว่าการติดต่อกันในอินเตอร์เน็ตซึ่งใช้โปรโตคอล
TCP/IP คุยกัน โดยจะต้องมีหมายเลข IP ในการอ้างอิงเสมอ
แต่หมายเลข IP นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ
ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่หมายเลข
IP น่าจะสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น หมายเลข IP คือ 203.78.105.4 แทนที่ด้วยชื่อ
thaigoodview.com ผู้ใช้บริการสามารถ จดจำชื่อ thaigoodview.com
ได้แม่นยำกว่า นอกจากนี้ในกรณีเครื่องเสีย
หรือต้องการเปลี่ยนแปลงเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ จากเครื่องที่มีหมายเลข IP
203.78.105.4 เป็น 203.78.104.9 ผู้ดูแลระบบจะจัดการ
แก้ไขฐานข้อมูลให้เครื่องใหม่มีชื่อแทนที่เครื่อง เดิมได้ทันที โดยไม่ต้องโยกย้ายฮาร์ดแวร์แต่อย่างใด
ส่วนในมุมมองของผู้ใช้ ก็ไม่ต้องแก้ไขอะไรทั้งสิ้น ยังคงสามารถใช้งานได้เหมือนเดิม
สำหรับ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ได้มีการพัฒนากลไกการแทนที่ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการกับหมายเลข IP หรือ name-to-IP
Address ขึ้นมาใช้งานและเรียกกลไกนี้ว่า Domain Name System
(DNS) โดยมีการจัดเก็บฐานข้อมูลชื่อและหมายเลข IP เป็นลำดับชั้น (hierachical structure) อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่พิเศษที่เรียกว่า
Domain Name Server หรือ Name Server โครงสร้างของฐานข้อมูล
Domain Name นี้ ในระดับบนสุดจะมีความหมายบอกถึง ประเภทขององค์กร
หรือชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่ ชื่อ Domain ในชั้นบนสุดเหล่านี้จะใช้ตัวอักษรเล็กหรือใหญ่ก็ได้
แต่นิยมใช้อักษรตัวเล็ก โดยมีการกำหนดมาจากหน่วยงานที่เรียกว่า InterNIC
(Internet Network Information Center) จากระดับบนสุดก็จะมีระดับล่างๆ
ลงมาซึ่งใช้แทนความหมายต่างๆ แล้วแต่ผู้จัดตั้งจะ กำหนดขึ้น เช่น ตั้งตามชื่อคณะ หรือภาควิชาในมหาวิทยาลัย
ตั้งตามชื่อฝ่ายหรือแผนกในบริษัท เป็นต้น แต่ละระดับจะถูกแบ่งคั่นด้วยเครื่องหมายจุดเสมอ
การดูระดับจากบนลงล่างให้ดูจากด้านขวามาซ้าย เช่นชื่อ Domain คือ support.skynet.com จะได้ว่า com จะเป็นชื่อ Domain ในระดับบนสุด ถัดจากจุดตั้งต้น
หรือรากของโครงสร้าง (root) ระดับที่สองคือชื่อ skynet
และระดับล่างสุดคือ support หมายความว่า ชื่อ Domain
นี้ แทนที่หน่วยงาน support ของบริษัทชื่อ skynet
และเป็นบริษัทเอกชน ดังแสดงโครงสร้างลำดับชั้นของ Domian
Name ที่ชื่อ Support.skynet.com
ใน การกำหนดหรือตั้งชื่อแทนหมายเลข
IP นี้จะต้องลงทะเบียนและขอใช้ที่หน่วยงาน InterNIC เสียก่อน
ถ้าได้รับอนุญาตและลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะมีการจัดเก็บเพิ่มฐานข้อมูล
name-to-IP address เพื่อให้ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตสามารถ
อ้างอิงเข้ามาใช้บริการได้ เหมือนกับการขอจดทะเบียนตั้งชื่อบริษัท ที่ต้องมีผู้รับผิดชอบในการเก็บข้อมูลเป็นนายทะเบียนและคอยตรวจ
ดูว่าชื่อนั้นจะซ้ำกับคนอื่นหรือไม่ ถ้าไม่มีปัญหาก็อนุญาตให้ใช้ได้ ชื่อ
Domain Name นี้จะมีความยาวทั้งหมดไม่เกิน 255 ตัวอักษร แต่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องระดับชั้น ดังนั้นในชื่อหนึ่งๆ อาจมีหลายระดับได้ตามต้องการ
และข้อสังเกตที่สำคัญก็คือชื่อ และจุดเหล่านี้ไม่เกี่ยวกับจุดใน ตัวเลขที่เป็น IP
Address แต่อย่างใด ขบวนการหรือกลไกในการแปลงชื่อ Domain กลับเป็นหมายเลข IP หรือ Name Mapping นี้อยู่ที่การ จัดการฐานข้อมูล Domain Name แบบกระจาย
โดยจะเริ่มจากเมื่อมีโปรแกรมอ้างถึงชื่อโดเมนบนเครื่องหนึ่ง ก็จะมีการสอบถามไปที่ฐานข้อมูล
ในเครื่องที่ทำหน้าที่เป็น Name Server (ซึ่งอาจเป็นเครื่องเดียวกันนั้นเองหรือคนละเครื่องก็ได้
และอาจมี Name Server ได้หลายเครื่องด้วย
ขึ้นกับว่าจะตั้งไว้ให้รู้จัก Name Server เครื่องใดบ้าง) เครื่องที่เป็น
Name Server ก็จะเรียกดูในฐานข้อมูลและถ้าพบชื่อที่ต้องการก็จะจัดการแปลงชื่อ
Domain เป็นหมายเลข IP ที่ถูกต้องให้
ระบบ Name Server นี้จะมีติดตั้งกระจายไปในหลายเครื่องบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เนื่องจากอย่างน้อยหน่วยงาน ISP หนึ่งๆ
ก็จะต้องจัดตั้งระบบดังกล่าวขึ้นมา เพื่อคอยดูแลจัดการฐานข้อมูล Domain
Name ของเครือข่ายตนเอง ดังนั้นถ้า Name Server เครื่องหนึ่งไม่มีข้อมูลหรือไม่รู้จัก Domain Name ที่ถูกถามมาก็อาจจะไปขอข้อมูลจาก
Name Server เครื่องอื่นๆ ที่ตนรู้จักจนกว่าจะพบ หรือจนกว่าจะทั่วแล้วไม่ปรากฏว่ามีเครื่องไหนรู้จักเลย
กรณีนี้ก็จะตอบไปว่าไม่รู้จัก (หรือถ้ามี Name Server บางเครื่องที่รู้จักชื่อนั้นแต่ขณะนั้น
เกิดขัดข้องอยู่ก็จะได้คำตอบว่าไม่มีเครื่องใดรู้จักเช่นกัน)
·
การกำหนดชื่อผู้ใช้และชื่อ Domain
ความสามารถของ Domain Name System ที่ทำหน้าที่แปลงระบบชื่อให้เป็นหมายเลข
IP นี้ ได้ถูกนำมาใช้กว้างขวางมากขึ้น โดยรวมไปถึงการกำหนดชื่อผู้ใช้ในระบบได้อีกด้วย
กฎเกณฑ์ในการกำหนดก็ไม่ยุ่งยาก โดยชื่อผู้ใช้จะมีรูปแบบดังนี้ ชื่อ_user @ ชื่อ_subdomain. ชื่อ_Subdomain... [...] . ชื่อ_Domain ชื่อ_user จะเป็นตัวอักษรแทนชื่อเฉพาะใดๆ
เช่น ชื่อผู้ใช้คนหนึ่งที่จะรับหรือส่ง E-mail ท้ายชื่อ user
นี้จะมีเครื่องหมาย @ ซึ่งอ่านว่า
"แอท" หมายถึง "อยู่ที่เครื่อง..."
แบ่งคั่นออกจากส่วนที่เหลือ ชื่อ_Subdomain เป็นส่วนย่อยที่จะใช้ขยายให้ทราบถึงกลุ่มต่างๆ
ใน domain นั้น เช่น กรณีที่บริษัทมีหลายหน่วยงาน
จึงจัดเป็นกลุ่มๆ ตั้งชื่อไว้อยู่ใน subdomain ต่างๆ ซึ่งในที่หนึ่งๆ
อาจจะมี subdomain หลายระดับก็ได้ และชื่อ subdomain ตัวสุดท้ายมักเป็นชื่อโฮสต์คอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้รายนั้นใช้อยู่นั่นเอง
ชื่อ_Domain ตามปกติชื่อ domain จะอยู่ทางด้านขวาสุดของชื่อ
DNS ใช้สำหรับระบุประเภทของกิจกรรมของเครือข่ายนั้นๆ
เวลาที่มีการติดต่อกัน เช่น ในการส่ง E-mail ชื่อดังกล่าวนี้ก็จะใช้เป็นตัวอ้างอิงเสมือนชื่อและที่อยู่ของผู้ใช้รายนั้นๆ
หรือเรียกว่าเป็น E-mail address นั่นเอง
ที่มาของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตถูกพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหม
ของสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 1969 ซึ่ง
หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายมีชือว่า
APRA (Advanced
Research PojectAgency
เครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้มีชื่อว่า
อาร์พาเน็ต (ARPANET) เครือข่ายนี้สร้างขึ้น
เพื่อการใช้งานทางด้านการทหาร
โปรโตคอลที่ใช้ชื่อว่า DARPA ต่อมา ARPA ได้สร้างมาตราฐานในการเชื่อมต่อขึ้นใหม่
เพื่อให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสาร
กันได้
จึงได้สร้างโปรโตคอลขึ้นมาใหม่ ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบันคือ TCP/IP
(Transmission
Control Protocol/Internet Protocol) และเมื่อปี ค.ศ. 1989 มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า
"อินเตอร์เน็ต"
ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต
เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace
ความหมายและความสำคัญของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการค้าหรือ ISP (Internet Service Providers) ถือเป็นกระดูกสันหลังของอินเทอร์เน็ต
ISP
เป็นผู้บริหารจัดการคอมพิวเตอร์เครื่องหลักที่ใช้ต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตซึ่งเรียกกันว่า
เซิร์ฟเวอร์ (Servers)
เซิร์ฟเวอร์ถือเป็นจุดผ่านเข้าสู่อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้
บริการทั้งหลายISP ให้บริการต่อสาย (dial-up access) เข้าไปสู่อินเทอร์เน็ต
ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงกลุ่มข่าว (newsgroups) อีเมล์หรือ
ห้องสนทนา (chat) ได้ ผู้ใช้บริการสามารถ บันทึกข้อมูลแบบอัพโหลด
หรือดาวน์โหลด โดยวิธีการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต และ ISPเป็นผู้ให้บริการกลไกสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลเหล่านี้หากมีใครต้องการสร้างเว็บไซต์ของตนเอง
ISP จะเป็นผู้จัดสรรเนื้อที่และให้ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต
เพื่อช่วยให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลได้อย่างถูกต้องเมื่อมีคนขอผ่านเข้าไปดูISP
จะเป็นผู้กำหนดหมายเลขที่อยู่ไอพี (IP - Internet Protocol) ให้แก่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่ใช้บริการที่อยู่ไอพี (IP
Address) นี้คือหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ
ที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต และเป็นตัวบอกเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ
ว่าจะค้นหาคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ได้ที่ไหน ISP มีระบบเก็บบันทึก
IP Address และชื่อที่อยู่ของสมาชิกที่ใช้บริการ
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะสืบสาวไปถึงตัวนักล่อลวงเด็กทางอินเทอร์เน็ตได้
แม้ว่าผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่นิยมจ่ายค่าบริการโดยบัตรเครดิตหรือให้ส่งใบเสร็จรับเงินไปตามที่อยู่บ้าน
ซึ่งทำให้ทราบหลักฐานของผู้ใช้บริการ
แต่มีหลายครั้งที่ผู้ใช้บริการจำนวนมากก็ใช้ระบบการจ่ายล่วงหน้า
หรือหลายคนใช้การส่งตั๋วแลกเงินหรือใช้การส่งเอกสารผ่านที่อยู่ทางตู้โปรษณีย์
ทำให้ไม่สามารถสืบค้นหลักฐานของผู้ใช้บริการได้ ดังนั้น การตรวจ
เบอร์โทรศัพท์ที่โทรเข้าไปที่ IP Address และเวลาที่โทรจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการดำเนินการทางกฎหมายกับอาชญากรรมที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือล่อลวงเด็ก
มีหลายประเทศที่เริ่มให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยไม่คิดมูลค่า ไม่มีการคิดค่าต่อสาย
มีเพียงเฉพาะค่าโทรศัพท์เท่านั้น
บริการฟรีแบบนี้ไม่นิยมเก็บประวัติของผู้ใช้บริการเป็นหลักฐาน ดังนั้น
จึงง่ายแก่การใช้หลักฐานปลอม ในกรณีที่มีการประกอบอาชญากรรมขึ้น
ผู้รักษากฎหมายต้องอาศัยความร่วมมืออย่างเต็มที่จาก ISP เพื่อจับผู้ละเมิดกฎหมายซึ่งอาจเป็นผู้ใช้บริการที่อยู่ในเครือข่าย
อย่างไรก็ตาม ISP อาจกลัวว่า
หากเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการโดยไม่ได้รับอนุญาต
จะเป็นการละเมิดต่อพันธกรรมที่มีต่อลูกค้า
และอาจขัดกับหลักกฎหมายด้านสิทธิส่วนบุคคลด้วย หรือหมายถึงหน่วยงานที่บริการ
ให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของบริษัท
เข้ากับเครือข่าย อินเทอร์เน็ตทั่วโลก เสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
เพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ต้องการข้อมูลต่างๆ
ก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง โดยการใช้บริการอินเตอร์เน็ต ผ่านผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วไป
หลักการพิจารณา ISP นั้น ผู้เลือกใช้บริการ
จำเป็นต้องศึกษาว่า ISP นั้นมีสายสัญญาณหลักที่เร็ว
หรือมีประสิทธิภาพสูง มากเพียงใด มีสมาชิก ใช้บริการมากน้อยขนาดไหน เพราะปัจจัยต่างๆเหล่านี้ จะมีผลต่อความเร็ว ในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย
โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น
เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถ
เลือกรับบริการได้ 2 วิธี คือ
• ซื้อชุดอินเทอร์เน็ต
สำเร็จรูปตามร้านทั่วไปไปใช้
• สมัครเป็นสมาชิกรายเดือน
โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISPโดยตรง ซึ่งวิธีการ
และรายละเอียด ในการให้บริการของแต่ละที่นั้น จะแตกต่างกันไป
ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ
จะกำหนด
ในปัจจุบันผู้ให้บริการ
Internet (ISP)
ได้มีการพัฒนา การให้บริการ Internet จากเดิม
56 K เป็นระบบ ADSL ที่มีความเร็วสูงขึ้น เช่น
128 K, 256 K, 512 K , 1M หรือมากกว่า เช่น ISP
Maxnet
|
|
|
1.
ขั้นตอนการสร้าง Dial-up Connection
ขั้นตอนที่1 คลิก Mouse ที่ Start > Program > Accessories > Communication > New Connection Wizard
ขั้นตอนที่2 จะปรากฎหน้าต่าง New
Connection Wizard คลิก Mouseปุ่ม Next
เพื่อเริ่มขั้นตอนถัดไป
ขั้นตอนที่3 จะเป็นการเลือกรูปแบบการเชื่อมต่อ
ให้เลือก Connect to the internet เพื่อทำการสร้างตัวเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
แล้วคลิกปุ่ม Next
ขั้นตอนที่4 ต่อมาจะเป็นการกำหนดว่าจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตวิธีไหน ให้คลิกตัวเลือก Set up my
conection manually แล้วคลิกปุ่ม Next
ขั้นตอนที่5
จากนั้นให้กำหนดค่าว่าจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านทางอุปกรณ์ให้คลิกเลือกตัวเลือก Connect using a dial-up modem
เพื่อทำการเชื่อมต่อผ่านทางโมเด็ม แล้วคลิกปุ่ม Next
เพื่อทำการเชื่อมต่อผ่านทางโมเด็ม แล้วคลิกปุ่ม Next
ขั้นตอนที่6 ให้พิมพ์ชื่อ ISP ที่คุณใช้ในช่อง ISP Name เช่น SU Net
แล้วคลิกปุ่ม Next
ขั้นตอนที่7 พิมพ์เบอร์โทรศัพท์ที่ใช้ในการ Connect ในช่อง Phone Number แล้วคลิกปุ่ม Next ซึ่งสามารถใช้ได้ 3 เบอร์
ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของผู้ใช้ดังนี้
7.1 กรุงเทพ : 0222083000
7.2 นครปฐม : 034240100
7.3 ทั่วประเทศ : 1222
ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของผู้ใช้ดังนี้
7.1 กรุงเทพ : 0222083000
7.2 นครปฐม : 034240100
7.3 ทั่วประเทศ : 1222
ขั้นตอนที่8 กรอกข้อมูลในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
8.1. Username ถ้าเป็นนักศึกษาให้ใส่ u ตามด้วยรหัสนักศึกษา เช่น u0944244@su.ac.th ถ้าเป็นบุคลากรให้ใส่ดังนี้
เช่น malee@su.ac.th
8.2. Password
8.3. Conferm Password เพื่อยืนยัน Password
8.4. กำหนดตัวเลือกเพื่อช่วยในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต แล้วคลิก Next
Use this Account name and password when anyone connects to the Internet from this Computer
(กำหนดให้ใช้ชื่อและรหัสผ่านนี้ เมื่อมีคนเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจากเครื่องนี้)
Make this the default internet connection (กำหนดให้ตัวเชื่อมต่อนี้ เป็นตัวเชื่อมต่อเริ่มต้น)
8.1. Username ถ้าเป็นนักศึกษาให้ใส่ u ตามด้วยรหัสนักศึกษา เช่น u0944244@su.ac.th ถ้าเป็นบุคลากรให้ใส่ดังนี้
เช่น malee@su.ac.th
8.2. Password
8.3. Conferm Password เพื่อยืนยัน Password
8.4. กำหนดตัวเลือกเพื่อช่วยในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต แล้วคลิก Next
Use this Account name and password when anyone connects to the Internet from this Computer
(กำหนดให้ใช้ชื่อและรหัสผ่านนี้ เมื่อมีคนเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจากเครื่องนี้)
Make this the default internet connection (กำหนดให้ตัวเชื่อมต่อนี้ เป็นตัวเชื่อมต่อเริ่มต้น)
ขั้นตอนที่9 ให้คลิกเลือก Add a Shotcut to this connection to my
desktop เพื่อทำการสร้างไอคอนตัว เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
บนเดสก์ทอป เพื่อให้สะดวกในการเรียกใช้งาน แล้วคลิก Finish
บนเดสก์ทอป เพื่อให้สะดวกในการเรียกใช้งาน แล้วคลิก Finish
ขั้นตอนที่10 จะปรากฎไอคอนที่หน้าจอดังรูป
2.
ขั้นตอนการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
ขั้นตอนที่1 ดับเบิ้ลคลิกไอคอน (SU
Net) เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหน้าเดสก์ทอป จะปรากฎ 1.1. ใส่ Username เช่น
malee@su.ac.th 1.2. ใส่ Password
1.3. ถ้าต้องการให้วินโดว์บันทึกรหัสผ่านไว้ เพื่อให้ครั้งต่อไปไม่ต้องใส่รหัสผ่านก็ให้
คลิก Save Password และคลิก Me only
1.4. แล้วทำการคลิก Dial เพื่อหมุนโมเด็มไปยังผู้ให้บริการ (ISP)
คลิก Save Password และคลิก Me only
1.4. แล้วทำการคลิก Dial เพื่อหมุนโมเด็มไปยังผู้ให้บริการ (ISP)
ขั้นตอนที่2 จะแสดงการเชื่อมต่อว่าทำการต่อไปที่เบอร์โทรศัพท์ใด
ขั้นตอนที่3
ถ้าเชื่อมต่อได้จะเปลี่ยนเป็นสถานะเป็น Verifying user
name and password แต่ถ้าเชื่อมต่อไม่ได้หรือสายไม่ว่าง
จะมีข้อความบอกว่า Line Busy
จะมีข้อความบอกว่า Line Busy
ขั้นตอนที่4 ถ้าเครื่อง Server ทำการตรวจสอบว่า Loggin กับ Password ถูกต้องจะเปลี่ยนสถานะเป็น Registering your
computer on the network แต่ถ้าหากไม่ถูกต้องจะมีหน้าต่างให้ใส่ Username และPassword อีกครั้ง
computer on the network แต่ถ้าหากไม่ถูกต้องจะมีหน้าต่างให้ใส่ Username และPassword อีกครั้ง
ขั้นตอนที่5 เมื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แล้วจะปรากฎรูปไอคอน
connection ตรง Task Bar มุมขวาล่างว่าได้ทำการเชื่อมต่อได้แล้ว
และเชื่อมต่อด้วยความเร็วเท่าไร
และเชื่อมต่อด้วยความเร็วเท่าไร
ขั้นตอนที่6 หากต้องการดูสถานะหรือ Disconnect Log
out ออกจากระบบให้ดับเบิ้ลคลิกที่ Icon connection ตรง Task Bar
มุมขวาด้านล่างขึ้นมา จะปรากฎหน้าต่างแสดงสถานะการทำงานดังรูปดังนี้ 6.2 Status : สถานะการเชื่อมต่อว่ากำลังเชื่อมต่ออยู่หรือไม่ 6.3 Duration : ระยะเวลาในการใช้ 6.4 Speed : เชื่อมต่อด้วยความเร็วเท่าไหร่ 6.5 Bytes received : อัตราการรับข้อมูล
มุมขวาด้านล่างขึ้นมา จะปรากฎหน้าต่างแสดงสถานะการทำงานดังรูปดังนี้ 6.2 Status : สถานะการเชื่อมต่อว่ากำลังเชื่อมต่ออยู่หรือไม่ 6.3 Duration : ระยะเวลาในการใช้ 6.4 Speed : เชื่อมต่อด้วยความเร็วเท่าไหร่ 6.5 Bytes received : อัตราการรับข้อมูล
มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
ในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ลงบนอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย
- ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
และข่าวสารต่างๆ ก่อนนำไปเผยแพร่บนเครือข่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง
- ควรใช้ภาษาที่สุภาพ และเป็นทางการในการเผยแพร่สิ่งต่างๆ
บนอินเทอร์เน็ต และควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- ควรเผยแพร่ข้อมูล
และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ไม่ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี
รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
- ควรบีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต
เพื่อประหยัดเวลาในการดึงข้อมูลของผู้ใช้
- ควรระบุแหล่งที่มา
วันเดือนปีที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้เผยแพร่
รวมทั้งควรมีคำแนะนำ และคำอธิบายการใช้ข้อมูลที่ชัดเจน
- ควรระบุข้อมูล
ข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา ข่าวลือ ความจริง หรือความคิดเห็น
- ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งโปรแกรมของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ
และที่สำคัญคือไม่ควรแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นที่เผยแพร่บนเครือข่าย
- ไม่ควรเผยแพร่โปรแกรมที่นำความเสียหาย
เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย และควรตรวจสอบแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร หรือโปรแกรมว่าปลอดไวรัส
ก่อนเผยแพร่เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
- ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสาร
และใช้คำให้ถูกความหมาย เขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
- ใช้ข้อความที่สั้น
กะทัดรัดเข้าใจง่าย
- ไม่ควรนำความลับ
หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
- หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูก
เหยียดหยามศาสนา วัฒนธรรมและความเชื่อของผู้อื่น
- ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นควรสอบถามความสมัครใจของผู้ที่ติดต่อด้วย
ก่อนที่จะส่งแฟ้มข้อมูล หรือโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ไปยังผู้ที่เราติดต่อด้วย
ไม่ควรส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่ก่อความรำคาญ และความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น
เช่น จดหมายลูกโซ่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น