วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 1 รู้จักและเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย ไทยเน็ต” (THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มีเกตเวย์ “ (Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)

ปี พ.ศ.  2535 เช่นกัน เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า "เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยการดูแลของเนคเทค และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า "ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยเริ่มแรกประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ

ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป
 อินเตอร์เน็ตทำงานอย่างไร?

รู้จักกับ TCP/IP
โปรโตคอล TCP/IP หรือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol เป็นระเบียบวิธีการ สื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กันมาแต่เดิมในระบบปฏิบัติการ Unix ซึ่งมีการใช้งานอย่าง กว้างขวางมาก จนถือเป็นมาตรฐานได้ จุดกำเนิดของโปรโตคอล TCP/IP นี้เริ่มขึ้นในราว พ.ศ. 2512 ที่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐ เมื่อพบปัญหาในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานต่างๆ ของตน ซึ่งจะต้องมีการส่งข้อมูลระหว่างกัน และไปยังหน่วยงานภายนอกอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัย ห้องทดลองต่างๆ (ส่วนใหญ่มีเครื่องที่ใช้ระบบ Unix อยู่เป็นจำนวนมาก) เนื่องจากแต่ละแห่งก็จะมีระบบคอมพิวเตอร์ของตนเองที่แตกต่างกันไป การต่อเชื่อมกันก็เป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำไม เหมือนกัน ดังนั้นข่าวสารข้อมูลทั้งหลาย จึงถ่ายเทไปมาได้อย่างยากลำบากมาก กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้ จัดตั้งหน่วยงาน Advanced Research Projects Agencies (ARPA) ขึ้นมา เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ผลลัพธ์ที่หน่วยงาน ARPA ได้จัดทำขึ้นคือ การกำหนดมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลและได้จัดตั้งเครือข่าย ARPANET ขึ้นโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP ต่อมาก็กลายมาเป็นมาตรฐานจริงจัง ในราวปี พ.ศ. 2525 ความสัมพันธ์ระหว่าง TCP/IP กับระบบปฏิบัติการ Unix เกิดขึ้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่เบอร์คเลย ์ ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Unix ซึ่งมีการผนวกเข้ากับโปรโตคอล TCP/IP สำหรับใช้ในการสื่อสารระหว่างระบบออกมา และเผยแพร่ต่อไปยังหน่วยงานต่างๆ ทำให้การสื่อสารกันของเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Unix มักจะต้อง ใช้โปรโตคอล TCP/IP เสมอ และมีบทบาทเป็นสิ่งที่คู่กันต่อมาถึงปัจจุบัน
ใน ปัจจุบันนี้ ไม่ว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของผู้ใช้จะเป็นแบบใดก็ตาม เช่น พีซีหรือแมคอินทอช ก็สามารถใช้งานโปรโตคอล TCP/IP เพื่อต่อเชื่อมเข้าส ู่อินเตอร์เน็ตได้ วิธีการก็คือเพียงแต่ติดตั้งใช้งานซอฟต์แวร์โปรโตคอล TCP/IP เท่านั้น ส่วนวิธีการและโปรแกรมที่ติดตั้ง จะแตกต่างกันขึ้นกับระบบที่ใช้ ซึ่งจะกล่าวต่อไป หมายเลข IP (IP Address) การสื่อสารกันในระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ตที่มีโปรโตคอล TCP/IP เป็นมาตรฐานนี้ เครื่องอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่ จะต้องมีหมายเลขประจำตัวเอาไว้อ้างอิงให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทราบเหมือนกับคนทุกคนต้องมีชื่อให้คนอื่นเรียก หมายเลขอ้างอิงดังกล่าวเราเรียกว่า IP Address หรือหมายเลข IP หรือบางทีก็เรียกว่า "แอดเดรส IP" (IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง) ซึ่งถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบ ก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ตั้งแต่ 0 จนถึง 28 -1 = 255 เท่านั้น เช่น 192.10.1.101 เป็นต้น ตัวเลข IP Address ชุดนี้จะเป็นสิ่งที่สำคัญคล้ายเบอร์โทรศัพท์ที่เรามีใช้อยู่และไม่ซ้ำกัน เพราะสามารถกำหนดเป็นตัวเลขได้รวมทั้งสิ้นกว่า 4 พันล้านเลขหมาย แต่การกำหนดให้คอมพิวเตอร์มีเลขหมาย IP Address นี้ไม่ได้เริ่มต้นจากหมายเลข 1 และนับขึ้นไปเรื่อยๆ หากแต่จะมีการจัด แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
o       ส่วนแรกเป็นหมายเลขของเครือข่าย (Network Number)
o       ส่วน ที่สองเรียกว่าหมายเลขของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายนั้น (Host Number) เพราะในเครือข่ายใดๆ อาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออยู่ได้มากมาย ในเครือข่ายที่อยู่คนละระบบอาจมีหมายเลข Host ซ้ำกันก็ได้ แต่เมื่อรวมกับหมายเลข Network แล้ว จะได้เป็น IP Address ที่ไม่ซ้ำกันเลย
ในการจัดตั้งหรือกำหนดหมายเลข IP Address นี้ก็มีวิธีการกำหนดที่ชัดเจน และมีกฎเกณฑ์ที่รัดกุม ผู้ใช้ที่อยากจัดตั้งโฮสต์คอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ต และให้บริการต่างๆ สามารถขอหมายเลข IP Address ได้ที่หน่วยงาน Internet Network Information Center (InterNIC) ขององค์กร Network Solution Incorporated (NSI) ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา แต่ถ้าผู้ใช้สมัครเข้าเป็นสมาชิกขอ ใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากบริษัทผู้ให้บริการ (Internet Service Provider) เรียกย่อๆ ว่าหน่วยงาน ISPรายใดก็แล้วแต่ ก็ไม่ต้องติดต่อขอ IP Address เนื่องจากหน่วยงาน ISP เหล่านั้นจะกำหนดหมายเลข IP ให้ใช้ หรือส่งค่า IP ชั่วคราวให้ใช้งาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบการขอใช้บริการที่จะกล่าวต่อไป
โครงสร้างของแอดเดรสที่ใช้ใน classต่างๆของเครือข่าย ซึ่งทั้งหมด ยาว 32 บิต IP Address นี้มีการจัดแบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 ระดับ (Class) แต่ที่ใช้งานในทั่วไปจะมีเพียง 3 ระดับคือ Class A, Class B, Class C ซึ่งก็แบ่งตามขนาดความใหญ่ ของเครือข่ายนั่นเอง ถ้าเครือข่ายใดมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร เชื่อมต่ออยู่มาก ก็จะมีหมายเลขอยู่ใน Class A ถ้ามีจำนวนเครื่องต่ออยู่ลดหลั่นกันลงมาก็จะอยู่ใน Class B และ Class C ตามลำดับ หมายเลข IP ของ Class A มีตัวแรกเป็น 0 และหมายเลขของเครือข่าย (Network Number) ขนาด 7 บิต และ มีหมายเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์ (Host Number) ขนาด 24 บิต ทำให้ในหนึ่งเครือข่ายของ Class A สามารถมีคอมพิวเตอร ์เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายได้ถึง 224= 16 ล้านเครื่อง เหมาะสำหรับองค์กร หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ แต่ใน Class A นี้ จะมีหมายเลข เครือข่ายได้ 128 ตัวเท่านั้นทั่วโลก ซึ่งหมายความว่าจะมีเครือข่ายยักษ์ใหญ่แบบนี้ได้เพียง 128 เครือข่ายเท่านั้น สำหรับ Class B จะมีหมายเลขเครือข่ายแบบ 14 บิต และหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 16 บิต (ส่วนอีก 2 บิตที่เหลือบังคับว่าต้องขึ้นต้นด้วย 102) ดังนั้นจึงสามารถมีจำนวนเครือข่ายที่อยู่ใน Class B ได้มากกว่า Class A คือมีได้ถึง 214 = กว่า 16,000 เครือข่าย และก็สามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันในเครือข่าย Class B แต่ละเครือข่ายได้ถึง 216 หรือมากกว่า 65,000 เครื่อง สุดท้ายคือ Class C ซึ่งมีหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 8 บิตและมีหมายเลขเครือข่ายแบบ 21 บิต ส่วนสามบิตแรกบังคับว่าต้องเป็น 1102 ดังนั้นใน แต่ละเครือข่าย Class C จะมีจำนวนเครื่องต่อเชื่อมได้เพียงไม่เกิน 254 เครื่องในแต่ละเครือข่าย (28 = 256 แต่หมายเลข 0 และ 255 จะไม่ถูกใช้งาน จึงเหลือเพียง 254) ดังนั้นวิธีการสังเกตได้ง่ายๆ ว่าเราเชื่อมต่ออยู่ที่เครือข่าย Class ใดก็สามารถดูได้จาก IP Address ในส่วนหน้า (ส่วน Network Address) โดย
Class A จะมี Network address ตั้งแต่ 0 ถึง 127 (บิตแรกเป็น 0 เสมอ)
Class B จะมี Network address ตั้งแต่ 128 ถึง 191 (เพราะขึ้นต้นด้วย 102 เท่านั้น)
Class C จะมี Network address ตั้งแต่ 192 ถึง 223 (เพราะขึ้นต้นด้วย 1102 เท่านั้น)
เช่น ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ตมีหมายเลข IP ดังนี้ 181.11.82.22 ตัวเลข 181.11 แสดงว่าเป็นเครือข่ายใน Class B ซึ่งหมายเลขเครือข่ายเต็มๆ จะใช้ 2 ส่วนแรกคือ 181.11 และมีหมายเลขคอมพิวเตอร์คือ 82.22 หรือถ้ามี IP Address เป็น 192.131.10.101 ทำให้ทราบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเชื่อมต่ออยู่ใน Class C มีหมายเลขเครือข่ายคือ 3 ส่วนแรก ได้แก่ 192.131.10 และหมายเลขประจำ เครื่องคือ 101 เป็นต้น

·                  Domain Name System (DNS)
เราทราบแล้วว่าการติดต่อกันในอินเตอร์เน็ตซึ่งใช้โปรโตคอล TCP/IP คุยกัน โดยจะต้องมีหมายเลข IP ในการอ้างอิงเสมอ แต่หมายเลข IP นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่หมายเลข IP น่าจะสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น หมายเลข IP คือ 203.78.105.4 แทนที่ด้วยชื่อ thaigoodview.com ผู้ใช้บริการสามารถ จดจำชื่อ thaigoodview.com ได้แม่นยำกว่า นอกจากนี้ในกรณีเครื่องเสีย หรือต้องการเปลี่ยนแปลงเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ จากเครื่องที่มีหมายเลข IP 203.78.105.4 เป็น 203.78.104.9 ผู้ดูแลระบบจะจัดการ แก้ไขฐานข้อมูลให้เครื่องใหม่มีชื่อแทนที่เครื่อง เดิมได้ทันที โดยไม่ต้องโยกย้ายฮาร์ดแวร์แต่อย่างใด ส่วนในมุมมองของผู้ใช้ ก็ไม่ต้องแก้ไขอะไรทั้งสิ้น ยังคงสามารถใช้งานได้เหมือนเดิม
สำหรับ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้มีการพัฒนากลไกการแทนที่ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการกับหมายเลข IP หรือ name-to-IP Address ขึ้นมาใช้งานและเรียกกลไกนี้ว่า Domain Name System (DNS) โดยมีการจัดเก็บฐานข้อมูลชื่อและหมายเลข IP เป็นลำดับชั้น (hierachical structure) อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่พิเศษที่เรียกว่า Domain Name Server หรือ Name Server โครงสร้างของฐานข้อมูล Domain Name นี้ ในระดับบนสุดจะมีความหมายบอกถึง ประเภทขององค์กร หรือชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่ ชื่อ Domain ในชั้นบนสุดเหล่านี้จะใช้ตัวอักษรเล็กหรือใหญ่ก็ได้ แต่นิยมใช้อักษรตัวเล็ก โดยมีการกำหนดมาจากหน่วยงานที่เรียกว่า InterNIC (Internet Network Information Center) จากระดับบนสุดก็จะมีระดับล่างๆ ลงมาซึ่งใช้แทนความหมายต่างๆ แล้วแต่ผู้จัดตั้งจะ กำหนดขึ้น เช่น ตั้งตามชื่อคณะ หรือภาควิชาในมหาวิทยาลัย ตั้งตามชื่อฝ่ายหรือแผนกในบริษัท เป็นต้น แต่ละระดับจะถูกแบ่งคั่นด้วยเครื่องหมายจุดเสมอ การดูระดับจากบนลงล่างให้ดูจากด้านขวามาซ้าย เช่นชื่อ Domain คือ support.skynet.com จะได้ว่า com จะเป็นชื่อ Domain ในระดับบนสุด ถัดจากจุดตั้งต้น หรือรากของโครงสร้าง (root) ระดับที่สองคือชื่อ skynet และระดับล่างสุดคือ support หมายความว่า ชื่อ Domain นี้ แทนที่หน่วยงาน support ของบริษัทชื่อ skynet และเป็นบริษัทเอกชน ดังแสดงโครงสร้างลำดับชั้นของ Domian Name ที่ชื่อ Support.skynet.com
ใน การกำหนดหรือตั้งชื่อแทนหมายเลข IP นี้จะต้องลงทะเบียนและขอใช้ที่หน่วยงาน InterNIC เสียก่อน ถ้าได้รับอนุญาตและลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะมีการจัดเก็บเพิ่มฐานข้อมูล name-to-IP address เพื่อให้ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตสามารถ อ้างอิงเข้ามาใช้บริการได้ เหมือนกับการขอจดทะเบียนตั้งชื่อบริษัท ที่ต้องมีผู้รับผิดชอบในการเก็บข้อมูลเป็นนายทะเบียนและคอยตรวจ ดูว่าชื่อนั้นจะซ้ำกับคนอื่นหรือไม่ ถ้าไม่มีปัญหาก็อนุญาตให้ใช้ได้ ชื่อ Domain Name นี้จะมีความยาวทั้งหมดไม่เกิน 255 ตัวอักษร แต่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องระดับชั้น ดังนั้นในชื่อหนึ่งๆ อาจมีหลายระดับได้ตามต้องการ และข้อสังเกตที่สำคัญก็คือชื่อ และจุดเหล่านี้ไม่เกี่ยวกับจุดใน ตัวเลขที่เป็น IP Address แต่อย่างใด ขบวนการหรือกลไกในการแปลงชื่อ Domain กลับเป็นหมายเลข IP หรือ Name Mapping นี้อยู่ที่การ จัดการฐานข้อมูล Domain Name แบบกระจาย โดยจะเริ่มจากเมื่อมีโปรแกรมอ้างถึงชื่อโดเมนบนเครื่องหนึ่ง ก็จะมีการสอบถามไปที่ฐานข้อมูล ในเครื่องที่ทำหน้าที่เป็น Name Server (ซึ่งอาจเป็นเครื่องเดียวกันนั้นเองหรือคนละเครื่องก็ได้ และอาจมี Name Server ได้หลายเครื่องด้วย ขึ้นกับว่าจะตั้งไว้ให้รู้จัก Name Server เครื่องใดบ้าง) เครื่องที่เป็น Name Server ก็จะเรียกดูในฐานข้อมูลและถ้าพบชื่อที่ต้องการก็จะจัดการแปลงชื่อ Domain เป็นหมายเลข IP ที่ถูกต้องให้ ระบบ Name Server นี้จะมีติดตั้งกระจายไปในหลายเครื่องบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เนื่องจากอย่างน้อยหน่วยงาน ISP หนึ่งๆ ก็จะต้องจัดตั้งระบบดังกล่าวขึ้นมา เพื่อคอยดูแลจัดการฐานข้อมูล Domain Name ของเครือข่ายตนเอง ดังนั้นถ้า Name Server เครื่องหนึ่งไม่มีข้อมูลหรือไม่รู้จัก Domain Name ที่ถูกถามมาก็อาจจะไปขอข้อมูลจาก Name Server เครื่องอื่นๆ ที่ตนรู้จักจนกว่าจะพบ หรือจนกว่าจะทั่วแล้วไม่ปรากฏว่ามีเครื่องไหนรู้จักเลย กรณีนี้ก็จะตอบไปว่าไม่รู้จัก (หรือถ้ามี Name Server บางเครื่องที่รู้จักชื่อนั้นแต่ขณะนั้น เกิดขัดข้องอยู่ก็จะได้คำตอบว่าไม่มีเครื่องใดรู้จักเช่นกัน)

·                  การกำหนดชื่อผู้ใช้และชื่อ Domain
ความสามารถของ Domain Name System ที่ทำหน้าที่แปลงระบบชื่อให้เป็นหมายเลข IP นี้ ได้ถูกนำมาใช้กว้างขวางมากขึ้น โดยรวมไปถึงการกำหนดชื่อผู้ใช้ในระบบได้อีกด้วย กฎเกณฑ์ในการกำหนดก็ไม่ยุ่งยาก โดยชื่อผู้ใช้จะมีรูปแบบดังนี้ ชื่อ_user @ ชื่อ_subdomain. ชื่อ_Subdomain... [...] . ชื่อ_Domain ชื่อ_user จะเป็นตัวอักษรแทนชื่อเฉพาะใดๆ เช่น ชื่อผู้ใช้คนหนึ่งที่จะรับหรือส่ง E-mail ท้ายชื่อ user นี้จะมีเครื่องหมาย @ ซึ่งอ่านว่า "แอท" หมายถึง "อยู่ที่เครื่อง..." แบ่งคั่นออกจากส่วนที่เหลือ ชื่อ_Subdomain เป็นส่วนย่อยที่จะใช้ขยายให้ทราบถึงกลุ่มต่างๆ ใน domain นั้น เช่น กรณีที่บริษัทมีหลายหน่วยงาน จึงจัดเป็นกลุ่มๆ ตั้งชื่อไว้อยู่ใน subdomain ต่างๆ ซึ่งในที่หนึ่งๆ อาจจะมี subdomain หลายระดับก็ได้ และชื่อ subdomain ตัวสุดท้ายมักเป็นชื่อโฮสต์คอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้รายนั้นใช้อยู่นั่นเอง ชื่อ_Domain ตามปกติชื่อ domain จะอยู่ทางด้านขวาสุดของชื่อ DNS ใช้สำหรับระบุประเภทของกิจกรรมของเครือข่ายนั้นๆ เวลาที่มีการติดต่อกัน เช่น ในการส่ง E-mail ชื่อดังกล่าวนี้ก็จะใช้เป็นตัวอ้างอิงเสมือนชื่อและที่อยู่ของผู้ใช้รายนั้นๆ หรือเรียกว่าเป็น E-mail address นั่นเอง
ที่มาของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตถูกพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 1969 ซึ่ง
หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายมีชือว่า APRA (Advanced Research PojectAgency
เครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้มีชื่อว่า อาร์พาเน็ต (ARPANET) เครือข่ายนี้สร้างขึ้น
เพื่อการใช้งานทางด้านการทหาร โปรโตคอลที่ใช้ชื่อว่า DARPA ต่อมา ARPA ได้สร้างมาตราฐานในการเชื่อมต่อขึ้นใหม่ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสาร
กันได้ จึงได้สร้างโปรโตคอลขึ้นมาใหม่ ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบันคือ TCP/IP
(Transmission Control Protocol/Internet Protocol) และเมื่อปี ค.ศ. 1989 มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "อินเตอร์เน็ต"
ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต

      เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace


ความหมายและความสำคัญของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
        ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการค้าหรือ ISP (Internet Service Providers) ถือเป็นกระดูกสันหลังของอินเทอร์เน็ต ISP เป็นผู้บริหารจัดการคอมพิวเตอร์เครื่องหลักที่ใช้ต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตซึ่งเรียกกันว่า เซิร์ฟเวอร์ (Servers) เซิร์ฟเวอร์ถือเป็นจุดผ่านเข้าสู่อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ บริการทั้งหลายISP ให้บริการต่อสาย (dial-up access) เข้าไปสู่อินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงกลุ่มข่าว (newsgroups) อีเมล์หรือ ห้องสนทนา (chat) ได้ ผู้ใช้บริการสามารถ บันทึกข้อมูลแบบอัพโหลด หรือดาวน์โหลด โดยวิธีการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต และ ISPเป็นผู้ให้บริการกลไกสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลเหล่านี้หากมีใครต้องการสร้างเว็บไซต์ของตนเอง ISP จะเป็นผู้จัดสรรเนื้อที่และให้ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อช่วยให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลได้อย่างถูกต้องเมื่อมีคนขอผ่านเข้าไปดูISP จะเป็นผู้กำหนดหมายเลขที่อยู่ไอพี (IP - Internet Protocol) ให้แก่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่ใช้บริการที่อยู่ไอพี (IP Address) นี้คือหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ ที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต และเป็นตัวบอกเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ว่าจะค้นหาคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ได้ที่ไหน ISP มีระบบเก็บบันทึก IP Address และชื่อที่อยู่ของสมาชิกที่ใช้บริการ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะสืบสาวไปถึงตัวนักล่อลวงเด็กทางอินเทอร์เน็ตได้ แม้ว่าผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่นิยมจ่ายค่าบริการโดยบัตรเครดิตหรือให้ส่งใบเสร็จรับเงินไปตามที่อยู่บ้าน ซึ่งทำให้ทราบหลักฐานของผู้ใช้บริการ แต่มีหลายครั้งที่ผู้ใช้บริการจำนวนมากก็ใช้ระบบการจ่ายล่วงหน้า หรือหลายคนใช้การส่งตั๋วแลกเงินหรือใช้การส่งเอกสารผ่านที่อยู่ทางตู้โปรษณีย์ ทำให้ไม่สามารถสืบค้นหลักฐานของผู้ใช้บริการได้ ดังนั้น การตรวจ เบอร์โทรศัพท์ที่โทรเข้าไปที่ IP Address และเวลาที่โทรจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการดำเนินการทางกฎหมายกับอาชญากรรมที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือล่อลวงเด็ก มีหลายประเทศที่เริ่มให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยไม่คิดมูลค่า ไม่มีการคิดค่าต่อสาย มีเพียงเฉพาะค่าโทรศัพท์เท่านั้น บริการฟรีแบบนี้ไม่นิยมเก็บประวัติของผู้ใช้บริการเป็นหลักฐาน ดังนั้น จึงง่ายแก่การใช้หลักฐานปลอม ในกรณีที่มีการประกอบอาชญากรรมขึ้น ผู้รักษากฎหมายต้องอาศัยความร่วมมืออย่างเต็มที่จาก ISP เพื่อจับผู้ละเมิดกฎหมายซึ่งอาจเป็นผู้ใช้บริการที่อยู่ในเครือข่าย อย่างไรก็ตาม ISP อาจกลัวว่า หากเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการโดยไม่ได้รับอนุญาต จะเป็นการละเมิดต่อพันธกรรมที่มีต่อลูกค้า และอาจขัดกับหลักกฎหมายด้านสิทธิส่วนบุคคลด้วย หรือหมายถึงหน่วยงานที่บริการ ให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของบริษัท เข้ากับเครือข่าย อินเทอร์เน็ตทั่วโลก เสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ต้องการข้อมูลต่างๆ ก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง โดยการใช้บริการอินเตอร์เน็ต ผ่านผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วไป หลักการพิจารณา ISP นั้น ผู้เลือกใช้บริการ จำเป็นต้องศึกษาว่า ISP นั้นมีสายสัญญาณหลักที่เร็ว หรือมีประสิทธิภาพสูง มากเพียงใด มีสมาชิก ใช้บริการมากน้อยขนาดไหน  เพราะปัจจัยต่างๆเหล่านี้ จะมีผลต่อความเร็ว ในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย
โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถ เลือกรับบริการได้ 2 วิธี คือ
•  ซื้อชุดอินเทอร์เน็ต สำเร็จรูปตามร้านทั่วไปไปใช้
•  สมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISPโดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียด ในการให้บริการของแต่ละที่นั้น จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด  

ในปัจจุบันผู้ให้บริการ Internet  (ISP)  ได้มีการพัฒนา การให้บริการ Internet จากเดิม 56 K เป็นระบบ ADSL ที่มีความเร็วสูงขึ้น เช่น 128 K, 256 K, 512 K , 1M หรือมากกว่า เช่น ISP Maxnet


1.               ขั้นตอนการสร้าง Dial-up Connection     
      ขั้นตอนที่1  คลิก Mouse ที่  Start > Program > Accessories > Communication > New Connection Wizard                        




   ขั้นตอนที่2  จะปรากฎหน้าต่าง New Connection Wizard คลิก  Mouseปุ่ม Next เพื่อเริ่มขั้นตอนถัดไป        

                        ขั้นตอนที่3  จะเป็นการเลือกรูปแบบการเชื่อมต่อ ให้เลือก Connect to the internet เพื่อทำการสร้างตัวเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต แล้วคลิกปุ่ม Next        

                        ขั้นตอนที่4   ต่อมาจะเป็นการกำหนดว่าจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตวิธีไหน ให้คลิกตัวเลือก Set up my conection manually   แล้วคลิกปุ่ม  Next        

                        ขั้นตอนที่ จากนั้นให้กำหนดค่าว่าจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านทางอุปกรณ์ให้คลิกเลือกตัวเลือก Connect using a dial-up modem
 เพื่อทำการเชื่อมต่อผ่านทางโมเด็ม แล้วคลิกปุ่ม Next        

                        ขั้นตอนที่6  ให้พิมพ์ชื่อ ISP ที่คุณใช้ในช่อง ISP Name  เช่น SU Net  แล้วคลิกปุ่ม Next        

                        ขั้นตอนที่7   พิมพ์เบอร์โทรศัพท์ที่ใช้ในการ Connect ในช่อง Phone Number แล้วคลิกปุ่ม Next  ซึ่งสามารถใช้ได้ 3 เบอร์
ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของผู้ใช้ดังนี้
                                 7.1  กรุงเทพ       :    0222083000
                                 7.2  นครปฐม      :    034240100
                                 7.3  ทั่วประเทศ   :    1222        

             
          ขั้นตอนที่ กรอกข้อมูลในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
                                 8.1.  Username ถ้าเป็นนักศึกษาให้ใส่ u ตามด้วยรหัสนักศึกษา เช่น u0944244@su.ac.th ถ้าเป็นบุคลากรให้ใส่ดังนี้
                                         เช่น malee@su.ac.th
                                 8.2.  Password
                                 8.3.  Conferm Password เพื่อยืนยัน Password
                                 8.4.  กำหนดตัวเลือกเพื่อช่วยในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต แล้วคลิก Next
                                        Use this Account name and password when anyone connects to the Internet from this Computer
                                                   (กำหนดให้ใช้ชื่อและรหัสผ่านนี้ เมื่อมีคนเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจากเครื่องนี้)
                                        Make this the default internet connection (กำหนดให้ตัวเชื่อมต่อนี้ เป็นตัวเชื่อมต่อเริ่มต้น)
       

           
          ขั้นตอนที่ ให้คลิกเลือก Add a Shotcut  to this connection to my desktop  เพื่อทำการสร้างไอคอนตัว เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
บนเดสก์ทอป เพื่อให้สะดวกในการเรียกใช้งาน แล้วคลิก Finish
       

                        ขั้นตอนที่10  จะปรากฎไอคอนที่หน้าจอดังรูป  

      Top    
2. ขั้นตอนการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
            ขั้นตอนที่1   ดับเบิ้ลคลิกไอคอน (SU Net) เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหน้าเดสก์ทอป จะปรากฎ   1.1.  ใส่ Username  เช่น  malee@su.ac.th     1.2.  ใส่ Password     1.3.  ถ้าต้องการให้วินโดว์บันทึกรหัสผ่านไว้ เพื่อให้ครั้งต่อไปไม่ต้องใส่รหัสผ่านก็ให้
        คลิก Save Password  และคลิก Me only
    1.4.  แล้วทำการคลิก Dial เพื่อหมุนโมเด็มไปยังผู้ให้บริการ (ISP)          

                        ขั้นตอนที่2  จะแสดงการเชื่อมต่อว่าทำการต่อไปที่เบอร์โทรศัพท์ใด          

                        ขั้นตอนที่ถ้าเชื่อมต่อได้จะเปลี่ยนเป็นสถานะเป็น Verifying user name and password แต่ถ้าเชื่อมต่อไม่ได้หรือสายไม่ว่าง
จะมีข้อความบอกว่า Line Busy          

             
          ขั้นตอนที่ ถ้าเครื่อง Server ทำการตรวจสอบว่า Loggin กับ Password ถูกต้องจะเปลี่ยนสถานะเป็น  Registering your
computer on the network  แต่ถ้าหากไม่ถูกต้องจะมีหน้าต่างให้ใส่ Username และPassword อีกครั้ง
         

             
          ขั้นตอนที่เมื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แล้วจะปรากฎรูปไอคอน connection ตรง Task Bar มุมขวาล่างว่าได้ทำการเชื่อมต่อได้แล้ว
และเชื่อมต่อด้วยความเร็วเท่าไร
 

                         ขั้นตอนที่ หากต้องการดูสถานะหรือ Disconnect Log out ออกจากระบบให้ดับเบิ้ลคลิกที่ Icon connection ตรง Task Bar
มุมขวาด้านล่างขึ้นมา จะปรากฎหน้าต่างแสดงสถานะการทำงานดังรูปดังนี้   6.2  Status                   :       สถานะการเชื่อมต่อว่ากำลังเชื่อมต่ออยู่หรือไม่     6.3  Duration               :       ระยะเวลาในการใช้     6.4  Speed                   :       เชื่อมต่อด้วยความเร็วเท่าไหร่     6.5  Bytes received     :       อัตราการรับข้อมูล        
มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ลงบนอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย
  • ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และข่าวสารต่างๆ ก่อนนำไปเผยแพร่บนเครือข่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง
  • ควรใช้ภาษาที่สุภาพ และเป็นทางการในการเผยแพร่สิ่งต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • ควรเผยแพร่ข้อมูล และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ไม่ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
  • ควรบีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อประหยัดเวลาในการดึงข้อมูลของผู้ใช้
  • ควรระบุแหล่งที่มา วันเดือนปีที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้เผยแพร่ รวมทั้งควรมีคำแนะนำ และคำอธิบายการใช้ข้อมูลที่ชัดเจน
  • ควรระบุข้อมูล ข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา ข่าวลือ ความจริง หรือความคิดเห็น
  • ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งโปรแกรมของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และที่สำคัญคือไม่ควรแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นที่เผยแพร่บนเครือข่าย
  • ไม่ควรเผยแพร่โปรแกรมที่นำความเสียหาย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย และควรตรวจสอบแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร หรือโปรแกรมว่าปลอดไวรัส ก่อนเผยแพร่เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
  • ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสาร และใช้คำให้ถูกความหมาย เขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
  • ใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัดเข้าใจง่าย
  • ไม่ควรนำความลับ หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
  • หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูก เหยียดหยามศาสนา วัฒนธรรมและความเชื่อของผู้อื่น
  • ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นควรสอบถามความสมัครใจของผู้ที่ติดต่อด้วย ก่อนที่จะส่งแฟ้มข้อมูล หรือโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ไปยังผู้ที่เราติดต่อด้วย
ไม่ควรส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่ก่อความรำคาญ และความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เช่น จดหมายลูกโซ่ 

บทที่4 กำหนดการรักษาความปลอดภัยและการปรับแต่งระบบ

 ไฟร์วอลล์จะช่วยป้องกันไม่ให้แฮกเกอร์หรือซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย (เช่น หนอน) เข้าถึงคอมพิวเตอร์ของคุณผ่านทางเครือข่ายหรืออินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ ไฟร์วอลล์ยังช่วยหยุดไม่ให้คอมพิวเตอร์ของคุณส่งซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นอีกด้วย Windows จะตรวจสอบว่าคอมพิวเตอร์ของคุณได้รับการป้องกันโดยไฟร์วอลล์ที่เป็นซอฟต์แวร์หรือไม่ ถ้าปิดไฟร์วอลล์ 'ศูนย์รักษาความปลอดภัย' จะแสดงการแจ้งเตือน และใส่ไอคอน Security Center ไว้ในพื้นที่แจ้งเตือน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ไฟร์วอลล์ที่เป็นซอฟต์แวร์ โปรดดู ไฟร์วอลล์คืออะไร
เมื่อต้องการเปิด Windows Firewall
หมายเหตุ
การปรับปรุงอัตโนมัติ
เมื่อต้องการเปิดใช้งานการปรับปรุงอัตโนมัติ
การป้องกันซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย
เมื่อต้องการติดตั้งหรือปรับปรุงซอฟต์แวร์ป้องกันมัลแวร์
หมายเหตุ
การตั้งค่าความปลอดภัยอื่นๆ
เมื่อต้องการคืนค่าการตั้งค่าอินเทอร์เน็ตกลับไปที่ระดับที่แนะนำไว้
เมื่อต้องการคืนค่าการตั้งค่าการควบคุมบัญชีผู้ใช้กลับไปที่ระดับที่แนะนำไว้
วิธีการปรับการตั้งค่า Internet Explorer
วิธีที่ 1: ล้างแคข้อมูลใน Internet Explorer
Internet Explorer 7

Internet Explorer 7
  1. เปิด Internet Explorer 7
  1. คลิก เครื่องมือแล้ว คลิก ลบ ประวัติการเรียกดู.
  1. ใน ลบประวัติการเรียกดูคลิกลบทั้งหมด.
  1. คลิกเพื่อเลือก ลบแฟ้มและการตั้งค่า การจัดเก็บ โดยโปรแกรม add-on กล่องกาเครื่องหมาย จากนั้น คลิก ตกลง.
Internet Explorer 8
  1. เปิด Internet Explorer 8
  1. คลิก ความปลอดภัยแล้ว คลิก ลบประวัติการเรียกดู.
  1. ในลบประวัติการเรียกดู พื้นที่ คลิก ลบ.
แสดงแถบความคืบหน้าการเพื่อบ่งชี้ว่า การเรียกดู จะมีการล้างข้อมูลประวัติ หลังจากกระบวนการนี้เสร็จสมบูรณ์ ทดสอบทางอินเทอร์เน็ต Explorer เพื่อตรวจสอบว่า โปรแกรมทำได้อย่างถูกต้อง ถ้าปัญหายังคงเกิดขึ้น ให้ลองวิธีที่ 2
วิธีที่ 2: ตั้งค่าการรักษาความปลอดภัยสำหรับ Internet Explorer ใหม่
ถ้าคุณตั้งค่าคอนฟิกการตั้งค่าความปลอดภัยที่จะจำกัดเกินไป คุณอาจ ป้องกันไม่ให้ Internet Explorer แสดงเว็บไซต์บางเว็บไซต์ เมื่อต้องการตรวจสอบ ว่าปัญหาเกิดขึ้นจากการตั้งค่าความปลอดภัยที่จำกัด overly ย้อนกลับไป การตั้งค่าความปลอดภัยเริ่มต้น เมื่อต้องการทำเช่นนี้ ให้ทำตามขั้นตอนเหล่านี้:
  1. เปิด Internet Explorer
  1. คลิก เครื่องมือแล้ว คลิกตัวเลือกอินเทอร์เน็ต.
  1. คลิก รักษาความปลอดภัย แท็บ
  1. คลิก การตั้งค่าใหม่เขตพื้นที่ทั้งหมดไปยังระดับเริ่มต้น, จากนั้น คลิก ตกลง.
หลังจากที่คุณทำเช่นนี้ ทดสอบ Internet Explorer เพื่อตรวจสอบว่า โปรแกรมทำได้อย่างถูกต้อง ถ้าปัญหายังคงเกิดขึ้น ลองวิธีที่ 3
หมายเหตุ ถ้าวิธีการนี้ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ คุณสามารถคืนค่า Internet Explorer เพื่อให้ระดับการรักษาความปลอดภัยของก่อนหน้านี้
วิธีที่ 3: เรียกใช้ Internet Explorer ในโหมด "ไม่มี Add-on"
Add-on ของ Internet Explorer เช่นตัวควบคุม ActiveX และเบราว์เซอร์ ใช้แถบเครื่องมือ โดยบางเว็บไซต์เพื่อให้สามารถเรียกดูมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประสบการณ์การใช้งาน มีข้อผิดพลาดอาจเกิดขึ้น หาก add-on มีความเสียหาย หรือแอดออน ความขัดแย้งกับ Internet Explorer เมื่อต้องการตรวจสอบว่า ข้อผิดพลาดที่เกิดจาก add-on เรียกใช้ Internet Explorer ในโหมด "ไม่มี Add-on" เมื่อต้องการทำเช่นนี้ ให้ปฏิบัติตาม ขั้นตอนเหล่านี้:
  1. คลิก เริ่มการทำงานจากนั้น พิมพ์Internet Explorer ในการ เริ่มต้นค้นหากล่อง
  1. คลิก Internet Explorer (ไม่มี Add-on). เปิด Internet Explorer โดยไม่มี add-on แถบเครื่องมือ หรือปลั๊กอิน
  1. ทดสอบ Internet Explorer เพื่อตรวจสอบว่า โปรแกรมทำได้อย่างถูกต้อง ถ้าปัญหายังคงเกิดขึ้น ลองวิธีที่ 4
ถ้าไม่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น ปัญหาเกิดจากรายใดรายหนึ่งของ add-on ซึ่งโดยทั่วไปจะโหลดพร้อมกับ Internet Explorer ในกรณีนี้ ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวเลือกต่อไปนี้
ตัวเลือกที่ 1: ตั้งค่า Internet Explorer
การตั้งค่า Internet Explorer เพื่อแสดงการตั้งค่าคอนฟิกค่าเริ่มต้น นอกจากนี้ขั้นตอนนี้จะปิดใช้งานใด ๆ โปรแกรม add-on ปลั๊กอิน หรือแถบเครื่องมือที่มีการติดตั้ง ถึงแม้ว่าการแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างรวดเร็ว นั่นยังหมายถึง ว่า ถ้าคุณต้องการใช้อย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวโปรแกรม add-on ในอนาคต พวกเขาต้องต้องติดตั้งใหม่ เมื่อต้องการตั้งค่าการตั้งค่า Internet Explorer ใหม่ ใช้วิธีที่ 4
ตัวเลือกที่ 2: ใช้ตัวจัดการ Add-on เครื่องมือเพื่อดูว่า add-on ตัวใดเป็นสาเหตุของปัญหา
ใช้เครื่องมือ Manage Add-ons ใน Internet Explorer แต่ละ add-on เพื่อดูว่า add-on ตัวใดเป็นสาเหตุของข้อผิดพลาดที่ปิดใช้งานแต่ละรายการ เมื่อต้องการทำเช่นนี้ ให้ทำตามขั้นตอนเหล่านี้:
Internet Explorer 7
  1. เปิด Internet Explorer 7
  1. คลิก เครื่องมือชี้ไปที่ จัดการ โปรแกรม add-onแล้ว คลิก เปิดหรือปิดใช้งาน Add-on.
  1. ในการ แสดง กล่อง การเลือก โปรแกรม add-on ที่ถูกใช้ โดย Internet Explorer เมื่อต้องการแสดง add-on ทั้งหมดที่ มีการติดตั้งบนคอมพิวเตอร์
  1. สำหรับแต่ละสินค้าในรายการนี้ ให้เลือก add-on จากนั้น คลิก ปิดการใช้งาน ภายใต้หัวข้อ การตั้งค่า.
  1. เมื่อคุณได้ปิดใช้งานรายการทั้งหมดในรายการนี้ คลิกตกลง.
  1. จบการทำงาน และเริ่มระบบของ Internet Explorer 7 ใหม่
  1. ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้น ทำซ้ำขั้นตอนที่ 1 ถึง 3
  1. คลิก เปิดการใช้งาน สำหรับเพียงอย่างเดียว add-on
  1. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 6 ถึง 8 จนกว่าคุณกำหนดว่า add-on ตัวใด ทำให้เกิดข้อผิดพลาดเกิดขึ้น
Internet Explorer 8
  1. เปิด Internet Explorer 8
  1. คลิก เครื่องมือแล้ว คลิก จัดการ Add-on.
  1. บนเครื่อง แสดง เมนูแบบหล่นลง เลือก Add-on ทั้งหมด เมื่อต้องการแสดง add-on ทั้งหมดที่ติดตั้งไว้บนคอมพิวเตอร์
  1. สำหรับแต่ละสินค้าในรายการนี้ เลือก add-on และคลิ กปิดการใช้งาน ในหน้าต่างรายละเอียด
  1. เมื่อคุณได้ปิดใช้งานรายการทั้งหมดในรายการนี้ คลิก ตกลง.
  1. จบการทำงาน และเริ่ม Internet Explorer ใหม่
  1. ถ้าปัญหาไม่เกิด ทำซ้ำขั้นตอนที่ 1 ถึง 3
  1. คลิกเปิดการใช้งาน สำหรับ add-on ตัวเดียว
  1. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 6 ถึง 8 จนกว่าคุณกำหนดว่า add-on ตัวใดเป็นสาเหตุของข้อผิดพลาดเกิดขึ้น
หลังจากที่คุณได้ใช้กระบวนการนี้เพื่อกำหนดว่า add-on ตัวใดเป็นสาเหตุของข้อผิดพลาด คุณสามารถปิดใช้งาน add-on นั้น หรือ คุณสามารถถอนการติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งโปรแกรม add-on เรายังแนะนำให้ คุณติดต่อผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ที่ให้ add-on สำหรับการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นและการสนับสนุนเพิ่มเติม
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรม add-on ของ Internet Explorer ให้ดู บทความต่อไปนี้ในวิธีใช้ของ Windows:
วิธีที่ 4: การตั้งค่าการตั้งค่า Internet Explorer
เมื่อต้องการตรวจสอบว่า ปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพหรือข้อผิดพลาด สาเหตุมาจากการตั้งค่าการตั้งค่าคอนฟิก การตั้งค่า Internet Explorer เป็นค่าเริ่มต้น การกำหนดค่า ซึ่งไม่อยู่ในสถานะเมื่อมีการติดตั้ง Windows Vista ไว้ตั้งแต่ต้นว่า 
เมื่อต้องการให้เราในการรีเซ็ตการตั้งค่า Internet Explorer ให้คุณ ไป "การตั้งค่า Internet Explorer ให้ฉัน"ส่วน เมื่อต้องการตั้งค่า Internet Explorer ใหม่ ด้วยตัวคุณเอง ไป "ให้ฉันตั้งค่าใหม่ของ Internet Explorer เอง"ส่วน
การตั้งค่า Internet Explorer ให้ฉัน
เมื่อต้องการตั้งค่าการตั้งค่าโดยอัตโนมัติ คลิก Internet Explorerการตั้งค่า Internet Explorer ใหม่ปุ่มหรือการเชื่อมโยง คลิกเรียกใช้ ในการการดาวน์โหลดแฟ้ม โต้ตอบกล่อง และทำตามขั้นตอนในการแก้ไขอัตโนมัตินั้นตัวช่วยสร้าง

หมายเหตุ นี้ การแก้ไขปัญหาดังกล่าว เครื่องมือควรจะทำงานบน Windows Vista ถ้าคุณกำลังใช้ Windows 7 ไปที่ วิธีที่ 5.
หมายเหตุ ตัวช่วยสร้างนี้อาจจะเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แก้ไขอัตโนมัติสามารถใช้สำหรับรุ่นของภาษาอื่น ๆ ของ Windows
หมายเหตุ หากคุณไม่ได้อยู่บนคอมพิวเตอร์ที่มีปัญหา คุณสามารถบันทึกการแก้ไขอัตโนมัติในแฟลชไดรฟ์ หรือ CD แล้ว คุณสามารถเรียกใช้ได้บนคอมพิวเตอร์ที่มีปัญหา 
ถัดไป ไป "ซึ่งวิธีแก้ไขปัญหาได้หรือไม่"ส่วน

ให้ฉันตั้งค่าใหม่ของ Internet Explorer เอง
เมื่อต้องการทำเช่นนี้ ให้ทำตามขั้นตอนเหล่านี้:
  1. เปิด Internet Explorer
  1. คลิก เครื่องมือแล้ว คลิกตัวเลือกอินเทอร์เน็ต.
  1. คลิก ขั้นสูง แท็บ
  1. ภายใต้หัวข้อ การตั้งค่า Internet Explorer ใหม่, คลิก การตั้งค่าใหม่.

ซึ่งวิธีแก้ไขปัญหาได้หรือไม่
ตรวจสอบว่า มีการตั้งค่าการตั้งค่า Internet Explorer ใหม่ ถ้ามีการตั้งค่าใหม่ การตั้งค่า Internet Explorer คุณจะเสร็จเรียบร้อยแล้วส่วนนี้ ถ้าการตั้งค่า Internet Explorer ถูกตั้งค่าใหม่ คุณสามารถ ติดต่อฝ่ายสนับสนุน.
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อคุณตั้งค่าใหม่ การตั้งค่า Internet Explorer ดูบทความต่อไปนี้ในวิธีใช้ของ Windows:
วิธีที่ 5: การแก้ไขปัญหา Internet Explorer ใน Windows 7
โดยค่าเริ่มต้น Windows 7 ได้แก้ไขปัญหา Internet Explorer สองต่อไปนี้:
  1. ประสิทธิภาพของ Internet Explorer
  1. ความปลอดภัยของ Internet Explorer
เรียกใช้ตัวแก้ไขปัญหาของ Internet Explorer
  1. ปิดโปรแกรมทั้งหมด
  1. คลิก เริ่มการทำงาน
  1. แล้ว คลิก 'แผงควบคุม'.
  1. คลิก การค้นหาและแก้ไขปัญหา ภายใต้หัวข้อ ระบบและความปลอดภัย.
  1. คลิก ดูทั้งหมดในบานหน้าต่างงานทางด้านซ้าย
  1. คลิกประสิทธิภาพของ Internet Explorer.
  1. คลิกถัดไปในกล่องข้อความโต้ตอบ
  1. ตัวแก้ไขปัญหาจะเรียกใช้ และแก้ไขปัญหาที่ระบุทั้งหมดโดยอัตโนมัติ คลิก ปิด.
หลังจากที่คุณเรียกใช้การแก้ไขปัญหา "ประสิทธิภาพของ Internet Explorer" เริ่ม Internet Explorer เพื่อดูว่า ได้รับการแก้ไขปัญหา ถ้าปัญหายังคงเกิดขึ้น เรียกใช้ตัวแก้ไขปัญหา 'Internet Explorer' ความปลอดภัย โดยใช้ขั้นตอนเดียวกันตามที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้
  1. เปิด Security Center โดยการคลิกปุ่ม เริ่มรูปภาพของปุ่ม 'เริ่ม'คลิก Control Panel คลิก ความปลอดภัย แล้วคลิก ศูนย์รักษาความปลอดภัย
  2. คลิก ไฟร์วอลล์ แล้วคลิก เปิดเดี๋ยวนี้ ต้องใช้สิทธิ์ของผู้ดูแลระบบ ถ้าคุณได้รับพร้อมท์ให้ใส่รหัสผ่านของผู้ดูแลหรือการยืนยัน ให้พิมพ์รหัสผ่านหรือทำการยืนยัน
  • หากคุณมีไฟร์วอลล์อื่นนอกเหนือจาก Windows firewall ให้ตรวจสอบข้อมูลที่มาพร้อมกับไฟร์วอลล์ หรือไปที่เว็บไซต์ของผู้ผลิตเพื่อค้นหาวิธีการเปิดไฟร์วอลล์
  • Windows ไม่ได้ตรวจหาไฟร์วอลล์ทั้งหมด หากคุณแน่ใจว่าได้ติดตั้งไฟร์วอลล์และเปิดใช้งานอยู่ คุณสามารถคลิก แสดงตัวเลือกที่พร้อมใช้ให้ฉันเห็น เพื่อหยุดรับการแจ้งเตือนจาก 'ศูนย์รักษาความปลอดภัย' เกี่ยวกับไฟร์วอลล์ของคุณได้ หากคุณทำขั้นตอนนี้ Windows จะไม่ติดตามสถานะไฟร์วอลล์ของคุณ หรือแจ้งเตือนคุณหากไฟร์วอลล์ถูกปิดอยู่

    Windows สามารถตรวจหาการปรับปรุงสำหรับคอมพิวเตอร์ของคุณเป็นประจำและติดตั้งโปรแกรมเหล่านั้นโดยอัตโนมัติ คุณสามารถใช้ 'ศูนย์รักษาความปลอดภัย' เพื่อตรวจสอบว่า 'การปรับปรุงอัตโนมัติ' ถูกเปิดใช้งานอยู่หรือไม่ ถ้าการปรับปรุงถูกปิดอยู่ 'ศูนย์รักษาความปลอดภัย' จะแสดงการแจ้งเตือน และใส่ไอคอน Security Centerรูปภาพของโล่สีแดงของ 'ศูนย์รักษาความปลอดภัย' ไว้ในพื้นที่แจ้งเตือน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 'การปรับปรุงอัตโนมัติ' โปรดดู การเปลี่ยนวิธีการที่ Windows ติดตั้งหรือแจ้งให้คุณทราบเกี่ยวกับการปรับปรุง และ การปรับปรุงคืออะไร
    1. เปิด Security Center โดยการคลิกปุ่ม เริ่มรูปภาพของปุ่ม 'เริ่ม'คลิก Control Panel คลิก ความปลอดภัย แล้วคลิก ศูนย์รักษาความปลอดภัย
    2. คลิก การปรับปรุงอัตโนมัติ แล้วคลิก เปิดเดี๋ยวนี้ ต้องใช้สิทธิ์ของผู้ดูแลระบบ ถ้าคุณได้รับพร้อมท์ให้ใส่รหัสผ่านของผู้ดูแลหรือการยืนยัน ให้พิมพ์รหัสผ่านหรือทำการยืนยัน

    การป้องกัน ซอฟต์แวร์ที่อันตราย (มัลแวร์)จะช่วยปกป้องคอมพิวเตอร์ของคุณจาก ไวรัส, สปายแวร์ และการคุกคามด้านความปลอดภัยอื่นๆ 'ศูนย์รักษาความปลอดภัย' จะตรวจสอบว่าคอมพิวเตอร์ของคุณกำลังใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันสปายแวร์และป้องกันไวรัสรุ่นล่าสุดหรือไม่ ถ้าซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสหรือป้องกันสปายแวร์ถูกปิดอยู่ หรือไม่ได้มีการปรับปรุง 'ศูนย์รักษาความปลอดภัย' จะแสดงการแจ้งเตือน และใส่ไอคอน Security Centerรูปภาพของโล่สีแดงของ 'ศูนย์รักษาความปลอดภัย' ไว้ในพื้นที่แจ้งเตือน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่ซอฟต์แวร์ป้องกันมัลแวร์สามารถช่วยป้องกันคอมพิวเตอร์ของคุณ โปรดดู การใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันมัลแวร์เพื่อช่วยป้องกันคอมพิวเตอร์ของคุณ
    1. เปิด Security Center โดยการคลิกปุ่ม เริ่มรูปภาพของปุ่ม 'เริ่ม'คลิก Control Panel คลิก ความปลอดภัย แล้วคลิก ศูนย์รักษาความปลอดภัย
    2. คลิกการป้องกันมัลแวร์ คลิกที่ปุ่มใต้ การป้องกันไวรัส หรือ การป้องกันสปายแวร์และมัลแวร์อื่น แล้วเลือกตัวเลือกที่คุณต้องการ
    • Windows ไม่ได้ตรววจหาซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและป้องกันสปายแวร์ทั้งหมด หากคุณแน่ใจว่าได้ติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันมัลแวร์และเปิดการทำงานไว้ และได้ปรับปรุงซอฟต์แวร์นั้นแล้ว คุณสามารถคลิกที่ ฉันมีโปรแกรม้องกันไวรัสที่ฉันจะตรวจสอบด้วยตัวเอง หรือ ฉันมีโปรแกรมป้องกันสปายแวร์ที่ฉันจะตรวจสอบด้วยตัวเอง เพื่อหยุดรับการแจ้งเตือนจาก 'ศูนย์รักษาความปลอดภัย' เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ป้องกันมัลแวร์ของคุณได้ ถ้าคุณทำขั้นตอนนี้ Windows จะไม่ติดตามสถานะซอฟต์แวร์ป้องกันมัลแวร์ของคุณ หรือแจ้งเตือนคุณหากซอฟต์แวร์ถูกปิดอยู่
    Windows จะตรวจสอบการตั้งค่าความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตและการตั้งค่าการควบคุมบัญชีผู้ใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าค่าเหล่านี้ได้ถูกตั้งไว้ในระดับที่แนะนำแล้ว ถ้าการตั้งค่าอินเทอร์เน็ตหรือการควบคุมบัญชีผู้ใช้ของคุณถูกเปลี่ยนเป็นระดับความปลอดภัยที่ไม่ได้แนะนำไว้ 'ศูนย์รักษาความปลอดภัย' จะแสดงการแจ้งเตือน และใส่ไอคอน Security Center รูปภาพของโล่สีแดงของ 'ศูนย์รักษาความปลอดภัย' ไว้ในพื้นที่แจ้งเตือน
    1. เปิด Security Center โดยการคลิกปุ่ม เริ่มรูปภาพของปุ่ม 'เริ่ม'คลิก Control Panel คลิก ความปลอดภัย แล้วคลิก ศูนย์รักษาความปลอดภัย
    2. คลิก การตั้งค่าความปลอดภัยอื่นๆ
    3. ภายใต้ การตั้งค่าความปลอดภัยอินเทอร์เน็ต ให้คลิก คืนค่าการตั้งค่า
    4. ให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
      • เมื่อต้องการตั้งค่าใหม่โดยอัตโนมัติในส่วนการตั้งค่าความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตที่มีความเสี่ยงให้เป็นระดับเริ่มต้น ให้คลิก คืนค่าการตั้งค่าความปลอดภัยอินเทอร์เน็ตของฉันเดี๋ยวนี้
      • เมื่อต้องการตั้งค่าใหม่ในส่วนการตั้งค่าความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตด้วยตนเอง ให้คลิก ฉันต้องการคืนค่าการตั้งค่าความปลอดภัยอินเทอร์เน็ตของฉันด้วยตัวเอง คลิกโซนความปลอดภัยที่คุณต้องการเปลี่ยนการตั้งค่า แล้วคลิก กำหนดระดับเอง
    1. เปิด Security Center โดยการคลิกปุ่ม เริ่มรูปภาพของปุ่ม 'เริ่ม'คลิก Control Panel คลิก ความปลอดภัย แล้วคลิก ศูนย์รักษาความปลอดภัย
    2. คลิก การตั้งค่าความปลอดภัยอื่นๆ
    3. ภายใต้ การควบคุมบัญชีผู้ใช้ ให้คลิก เปิดเดี๋ยวนี้ ต้องใช้สิทธิ์ของผู้ดูแลระบบ ถ้าคุณได้รับพร้อมท์ให้ใส่รหัสผ่านของผู้ดูแลหรือการยืนยัน ให้พิมพ์รหัสผ่านหรือทำการยืนยัน

      มื่อต้องการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ให้ใช้วิธีการต่อไปนี้ในการ ใบสั่งที่ใช้ในการแสดง
      เมื่อต้องการตรวจสอบว่า ปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพหรือข้อผิดพลาด สาเหตุมาจากความเสียหาย ในแฟ้มชั่วคราวของอินเทอร์เน็ต หรือ ในที่อื่น ๆ แคช ข้อมูลที่ถูกใช้ โดย Internet Explorer คุณต้องล้างข้อมูลที่เก็บไว้ชั่วคราว เมื่อต้องการ ทำเช่นนี้ การทำตามขั้นตอนเหล่านี้:

บทที่6 การจัดการกับไวรัส


ไวรัสคอมพิวเตอร์






ไวรัสคอมพิวเตอร เป็นโปรแกรมพิเศษชนิดหนึ่งที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้จัดการกับตัวมันเอง โดยมีลักษณะเลียบแบบสิ่งมีชีวิต คือ เจริญเติบโตเองได้ ขยายและแพร่กระจายเองได้ สามารถอยู่รอดได้ โปรแกรมนี้เข้าไปอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้ โดยผ่านทาง
  • แผ่นฟลอปปีดิสก์
  • เครือข่ายคอมพิวเตอร์
จากการที่ไวรัสคอมพิวเตอร์ ทำงานได้ด้วยเงื่อนไขลักษณะใดลักษณะหนึ่งหลายลักษณะ จึงทำให้ผู้ใช้ไม่รู้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนติดไวรัสหรือไม่ พอเปิดเครื่องใช้ก็อาจพบว่าระบบคอมพิวเตอร์ของตนถูกไวรัสทำลายเสียแล้ว ไวรัสบางตัวไม่เพียงทำลาย ลบ ล้าง ย้ายข้อมูลของเรา โดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น แต่ยังสามารถทำลายโปรแกรมอื่น ๆได้อีกด้วยโดยสังเกตได้จากการที่หน้าจอแสดงผลโดยอาการแปลก ๆ

การแพร่กระจายและการทำงานของไวรัสคอมพิวเตอร์
การแพร่กระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ มีลักษณะคล้ายกับการแพร่กระจายของเชื้อโรคทั่วไป กล่าวคือ ต้องมีพาหะ หรือตัวกลาง เช่น อากาศ น้ำ และพาหะอื่น ๆ ส่วนโลกของคอมพิวเตอร์พาหะที่ว่านั้นก็คือ
  • แผ่นดิสก์
  • สายเคเบิลเพื่อสื่อสารข้อมูล โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ใช้หลายคน และแต่ละคนก็ต่างมีแผ่นดิสก์ของตนเอง รวมทั้งมีการก๊อปปี้แผ่นดิสก์กันโดยไม่มีเงื่อนไขด้วยแล้ว ยังมีโอกาสติดไวรัสคอมพิวเตอร์มากขึ้น

ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์
เราสามารถแบ่งไวรัสที่มีอยู่มากกว่าแปดพันชนิด ตามลักษณะแหล่งที่อยู่ และการฝังตัวของมันได้ดังนี้


1.     ไวรัสที่ฝังตัวอยู่ตามบูตเซ็กเตอร์ของแผ่นดิสก์และตารางพาร์ติชัน
ทุกครั่งทีทำการเปิดเครื่อง ระบบจัดการของคอมพิวเตอร์จะอ่านข้อมูลจากบูตเซ็กเตอร์ และโหลดเข้าไปในหน่วยความจำก่อน เสมอ ทำให้ไวรัสประเภทนี้ถูกโหลดไปหลบซ่อนในหน่วยความจำเพื่อรจังหวะแพร่กระจายต่อไปยังแผ่นดิสก์
ไวรัสประเภท ไม่สามารถทำลายได้โดยการเปิดเครื่องใหม่ เพราะมันจะเริ่มอยู่ในหน่วยความจำตั้งแต่เปิดเครื่อง และจะเมทำงานตลอดเวลานับจากนั้น
2.     ไวรัสที่เกาะตามไฟล์
ส่วนมากจะเกาะติดไฟล์ที่มีสกุล .COM และ .EXE คือเมื่อมีการใช้งานโปรแกรม .COM .EXE ไวรัสประเภทนี้จะแยกตัวไปซ่อนอยู่ในหน่วยความจำ แล้วหาทางเกาะติดไฟล์ที่มีนามสกุลดังกล่าว ที่เก็บไว้ในแผ่นดิสก์
3.     ไวรัสที่ฝังตัวอยู่ในไฟล COMMAND.COM
ไฟล์นี้เป็น ไฟล์ คำสั่งพื้นฐานที่มีอยู่ในระบบปฏิบัติการ เช่น เมื่อไปใช้งานในโหมด DOS Prompt แล้วไฟล์คำสั่ง COMMAND จะทำหน้าที่แปลคำสั่งนั้นให้เป็นภาษาเครื่องเข้าใจ เช่น คำสั่ง DEL,REN,DIR,COPY เป็นต้น จากการที่ไฟล์นี้ทำงานบ่อย ๆ นี่เอง ทำให้กระจายไปได้อย่างกว้างขวาง ทำลายยากกว่าไวรัสประเภทแรก
4.     ไวรัสที่แฝงตัวอยู่ในหน่วยความจำ
ไวรัสประเภทนี้จะฝังติดอยู่ในหน่วยความจำ และรอจนกว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่เหมาะสมของสภาพแวดล้อม ไวรัสนี้ก็จะเริ่มทำงานทันที
5.     ไวรัสประเภททำลายเฉพาะไฟล์
ไวรัสประเภทนี้เกาะติดไฟล์โปรแกรมไปเรื่อย ๆ และเมื่อพบไฟล์ที่ต้องการก็จะเริ่มทำงานไม่ว่าจะเป็นการแก้ไข การทำลาย การเคลื่อนย้าย เป็นไวรัสที่ร้ายแรงต่อเศรษฐกิจมากกว่าไวรัสประเภทอื่น ๆ กว่าจะพิสูจน์ได้ว่าติดไวรัสแล้ว ข้อมูลที่สำคัญของผู้ใช้ก็อาจหายไปหมดแล้ว
อาการของเครื่องคอมติดไวรัส 



ผู้อ่านสามารถสังเกตุการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านได้ด้วยตนเอง ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้อาจเป็นไปได้ว่ามีไวรัสเข้าไปติดอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่นเช่นเป็นจุดบกพร่องของระบบปฏิบัติการหรือตัวอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มีปัญหาก็เป็นได้ อาการของเครื่องที่ติดไวรัสนั้นได้แก่
เครื่องทำงานช้าลง โดยใช้เวลานานผิดปกติในการสตาร์ทเครื่องและเรียกโปรแกรมขึ้นมาทำงาน
เครื่องบูตตัวเองโดยไม่ได้สั่งให้รีสตาร์ท
เครื่องแฮ้งค้าง หรือหยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ
ขนาดของหน่วยความจำที่เหลืออยู่ลดน้อยกว่าปกติ โดยหาเหตุผลไม่ได้
ซีพียูถูกเรียกใช้งานมากเกินกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปตลอดเวลา
แป้นพิมพ์ทำงานผิดปกติหรือไม่ทำงานเลย
ไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เคยใช้อยู่หายไปเฉยๆ
พบไฟล์มีชื่อแปลกๆที่ไม่เคยพบมาก่อนอยู่ในโฟลเดอร์ต่างๆ
ข้อความที่ไม่เคยได้เห็นกลับถูกแสดงขึ้นมาบ่อยๆ
เกิดข้อความหรือภาพประหลาดบนหน้าจอ
ขนาดของไฟล์โปรแกรมหรือไฟล์งานใหญ่ขึ้น
วันเวลาของโปรแกรมหรือของไฟล์งานเปลี่ยนแปลงไป
ไฟแสดงสถานะการทำงานของดิสก์ติดค้างนานกว่าที่เคยเป็น
มีเสียงดังออกมาทางลำโพงโดยไม่ได้เกิดจากโปรแกรมที่ใช้งานอยู่
สาเหตุที่เครื่องติดไวรัส
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดไวรัสหรือมัลแวร์ต่างๆ เกิดจากพฤติกรรมการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เป็นหลัก ถ้าผู้ใช้มีความระมัดระวังการใช้สื่อบันทึกข้อมูล ไม่ติดตั้งโปรแกรมที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เครื่องคอมพิวเตอร์มีโปรแกรมตรวจหาไวรัสและอัพเดทอยู่เสมอ เมื่อเข้าไปใช้บริการอินเตอร์เน็ตเปิดเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือเท่านั้นและจะคลิกอะไรควรอ่านคิดดูให้รอบคอบ เปอร์เซ็นต์การติดไวรัสของเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะลดน้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่าไวรัสคอมพิวเตอร์จะหมดไปจากโลก เพราะยังมีช่องทางอื่นๆที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดไวรัสได้อีก เช่น
จากทางแผ่นดิสก์หรือแฟลชไดร์ฟที่ได้ทำการคัดลอกไฟล์จากเครื่องหนึ่งไปใช้กับอีกเครื่องหนึ่ง โดยหารู้ไม่ว่า ไวรัสได้สำเนาตัวเองติดไปกับดิสก์หรือแฟลชไดร์ฟ เพื่อไปติดคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นต่อไป
จากทางอีเมล์ โดยเฉพาะจากการดาวน์โหลดอีเมล์ผ่านทางโปรโตคอล POP3 ซึ่งอาจมีไวรัสหรือมัลแวร์แอบแฝงเข้ามาได้ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกหนอนอินเตอร์เน็ตประเภท Mass-mailing worm หรือพวก Netsky, Beagle และ Mydoom เป็นต้น
ข้อควรปฏิบัติเมื่อพบไวรัสในขณะทำงาน


1.            บูตเครื่องใหม่โดยการปิด แล้วเปิด หรือกดปุ่ม RESET บนเครื่อง ควรบูตด้วยแผ่น DOS ที่มั่นใจด้วยว่าไม่มีไวรัส เพราะเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ไวรัสบางชนิดอาจสูญหายหรือหมดฤทธิ์ไป
2.            ใช้โปรแกรมตรวจสอบเช็คไวรัสที่เชื่อถือได้ ตรวจสอบฮาร์ดดิสก์หรือแผ่นดิสก์ ซึ่งโปรแกรมจะตรวจสอบไวรัสจากหน่วยความจำของเครื่องก่อนเสมอ
3.            หลังจากทราบชื่อและชนิดของไวรัสแล้ว ให้กำจัดหรือทำลายไวรัสด้วยโปรแกรมกำจัดไวรัส
4.            บางครั้งถ้าเป็นไวรัสที่เกาะติดตามบูตเซ็กเตอร์ ให้ก๊อปปี้คำสั่ง SYS.COM ของดอส อีกแผ่นที่แน่ใจว่าสะอาด ( ต้องเป็น SYS.COM รุ่นเดียวกัน ) เข้าไปในแผ่นดิสก์ที่ติดไวรัส อาจทำได้ดังนี้    
A:\ SYS C: <Enter>
การกระทำดังกล่าว เป็นการคัดลอกโปรแกรมระบบทั้ง 3 ไฟล์ ของดอสไปเขียนไว้ที่ไวรัสที่บูตเซกเตอร์
5.            เมื่อกำจัดไวรัสเรียบร้อยแล้ว (ข้อเท็จจริงแล้ว ไม่อาจเชื่อถือได้ว่ากำจัดได้ 100% ) ให้เปิดเครื่องใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยปิดเครื่องประมาณ 10 วินาที แล้วเปิดใหม่ หรือกดปุ่ม RESET ทั้งนี้เพื่อป้องกันความผิดพลาดอันเนื่องมาจากอาจมีไวรัสบางตัวหลบซ่อนอยู่ในหน่วยความจำก็เป็นได้
การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์

มีเทคนิคอยู่มากมายหลายวิธี ดังนี้
1.            ทุกครั้งที่นำซอฟแวร์ที่ไม่ทราบแหล่งที่ผลิต หรือได้รับแจกฟรี ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนนำไปใช้
2.            ควรตรวจสอบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
3.            เตรียมแผ่นที่สะอาดไว้สำหรับบูตเครื่องเมื่อคราวจำเป็น
4.            ควรสำรองข้อมูลไว้เสมอ
5.            พยายามสังเกตุสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เช่น การทำงานที่ช้าลง ขนาดไฟล์ หน้าจอแสดงผลแปลก ๆ ไดรฟ์มีเสียงผิดปกติ
6.            ไม่นำแผ่นดิสก์ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ถ้ายังไม่ได้ปิดแถบป้องกันการบันทึก (Write Protect )
7.            ควรแยกแผ่นโปรแกรม และแผ่นข้อมูลออกจากกันโดยเด็ดขาด
8.            ไม่อนุญาตให้คนอื่นมาเล่นเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน โดยปราศจากการควบคุมอย่าง
 ใกล้ชิด
9.            ควรมีโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้ใช้ตรวจสอบและป้องกัน โดยเฉพาะโปรแกรมป้องกันไวรัสรุ่นใหม่ ๆ จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ดีขึ้นมาก ในที่นี้จะขอแนะนำโปรแกรม SCAN ของบริษัท McAfee Associates รุ่น V.2.5.1 หรือ Norton Antivirus


การกำจัดสปายแวร์ (spyware) ออกไปจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ


การใช้โปรแกรมสแกนหาเพื่อต่อต้านสปายแวร์และเครื่องมือที่ใช้ในการกำจัดออกไป

Windows Defender, ซึ่งส่งมาพร้อมกับ Windows เวอร์ชั่นนี้, จะช่วยป้องกัน ซอฟท์แวร์ชั่วร้าย, สปายแวร์, รวมทั้งซอฟท์แวร์ซ่อนเร้นที่ไม่พึงประสงค์ตัวอื่น ๆ ไม่ให้เข้ามาติดที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ เมื่อเปิดการทำงานของ Windows Defender, คุณจะได้รับการแจ้งเตือน ถ้าหากว่ามีสปายแวร์และซอฟท์แวร์ซ่อนเร้นที่ไม่พึงประสงค์ตัวอื่น ๆ พยายามที่จะรัน หรือ ทำการติดตั้งตัวมันเองบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ คุณสามารถเลือกได้ว่า คุณต้องการที่จะเพิกเฉย, ทำการกักกันเอาไว้, หรือจะกำจัดมันออกไป ในแต่ละไอเท็มที่ถูกตรวจจับได้ ข้อมูลเพิ่มเติม, ให้ดูที่การสแกนเพื่อค้นหาสปายแวร์และซอฟท์แวร์ซ่อนเร้นที่ไม่พึงประสงค์ตัวอื่น ๆ.
โปรแกรมสแกนหาสปายแวร์ต่าง ๆ มักจะถูกผนวกรวมมาในตัวโปรแกรมต่อต้านไวรัสด้วย ถ้าหากว่าคุณได้ทำการติดตั้งโปรแกรมต่อต้านไวรัสเอาไว้แล้ว, ให้ตรวจสอบดูว่าโปรแกรมนั้นมีการรวมเอาความสามารถต่าง ๆ ในการป้องกันสปายแวร์ หรือ ความสามารถในการเพิ่มเติมพวกมันในรูปของการอัปเดทมาด้วยหรือไม่, จากนั้นก็ให้ทำการสแกนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณอย่างสม่ำเสมอ คุณสามารถดูรายชื่อโปรแกรมป้องกันสปายแวร์ต่างๆ ได้ที่เว็บไซต์ Microsoft Security at Home ได้อีกด้วย


การเอสปายแวร์ออกด้วยตนเอง

ในบางครั้งสปายแวร์ก็เข้าไปติดในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งยากต่อลบล้างให้หมดออกไปจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาอย่างอื่นตามมา หากโปรแกรมต่อต้านสปายแวร์ แจ้งเตือนคุณว่ามันไม่สามารถที่จะกำจัดสปายแวร์ออกไปได้, ก็ให้ปฏิบัติตามแนวทางต่าง ๆ ที่โปรแกรมนั้นได้จัดเตรียมเอาไว้ให้กับคุณ ถ้าหากทำแล้วไม่ได้ผล, ก็ให้ลองใช้ตัวเลือกต่าง ๆ เหล่านี้
·     ตรวจสอบที่ โปรแกรมที่ติดตั้ง เพื่อดูว่ามีไอเท็มต่าง ๆ ที่ไม่ได้เป็นของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณอยู่หรือไม่
ให้ใช้วิธีการนี้ด้วยความระมัดระวังอย่างที่สุด มีโปรแกรมเป็นจำนวนมากแสดงอยู่ในรายการของแผงควบคุม (Control Panel), ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็ไม่ใช่สปายแวร์ โปรแกรมสปายแวร์เป็นจำนวนมากใช้วิิธีการพิเศษในการติดตั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะไม่ให้ขึ้นไปปรากฏในรายการของโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งถูกติดตั้งเอาไว้ (Installed Programs) ในบางครั้ง, โปรแกรมสปายแวร์จะ็มีตัวเลือกในการยกเลิกการติดตั้งมาให้ ซึ่งก็สามารถที่จะนำมาใช้ในการกำจัดมันออกไปได้ด้วยวิธีนี้ ให้ถอดถอนโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งคุณสามารถที่จะระบุด้วยความมั่นใจได้ว่าเป็นสปายแวร์เท่านั้น, และอย่าถอดถอนโปรแกรมซึ่งคุณอาจยังต้องการที่จะเก็บมันเอาไว้, ถึงแม้ว่าคุณจะใช้งานมันไม่บ่อยครั้งมากนักก็ตาม ข้อมูลเพิ่มเติม, ให้ดูที่ ยกเลิกการติดตั้ง หรือ เปลี่ยนแปลงโปรแกรม
·     การติดตั้ง Windows ซ้ำใหม่อีกครั้ง
สปายแวร์บางตัวสามารถที่จะซ่อนเร้นตัวมันเองได้เป็นอย่างดีจนทำให้ไม่สามารถกำจัดมันออกไปได้ ถ้าหากว่าคุณยังพบร่องรอยของสปายแวร์หลังจากใช้ความพยายามในการกำจัดมันด้วยโปรแกรมต่อต้านสปายแวร์ หรือ ทำการยกเลิกการติดตั้ง, แต่บางทีคุณก็อาจจำเป็นต้องทำการติดตั้ง Windows และโปรแกรมต่าง ๆ ใหม่อีกครั้ง

คำเตือน

คำเตือน

·                                   การติดตั้ง Windows ซ้ำใหม่อีกครั้งจะเป็นการกำจัดสปายแวร์ออกไป, แต่มันก็าจะลบไฟล์และโปรแกรมต่าง ๆ ของคุณออกไปด้วย ถ้าหากคุณจำเป็นต้องทำการติดตั้ง Windows ซ้ำใหม่อีกครั้ง, ต้องมั่นใจว่าคุณได้ทำการสำรองไฟล์และเอกสารต่าง ๆ ของคุณไว้แล้ว, และคุณก็จะต้องสามารถเข้าถึงแผ่นบรรจุโปรแกรมการติดตั้ง ซึ่งคุณจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้ในการติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ ของคุณซ้ำใหม่อีกครั้ง